การเฝ้าระวังการระบาดของโรคคอตีบ ทางห้องปฏิบัติการ
คำสำคัญ:
โรคคอตีบ, การเฝ้าระวังโรค, ระบาดวิทยา, ตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการบทคัดย่อ
การเฝ้าระวังการระบาดของโรคคอตีบทางห้องปฏิบัติการ ในกลุ่มผู้ป่วยหรือผู้สัมผัสโรคคอตีบ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 ขอนแก่น เพื่อศึกษาข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคคอตีบ ช่วงเวลาที่มีการระบาด กลุ่มตัวอย่างส่งตรวจจากหน่วยงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบสวนโรคคอตีบ ผลการตรวจตัวอย่างด้วยวิธีเพาะเชื้อ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา จำนวนตัวอย่างจากผู้ป่วย หรือผู้สัมผัสโรคคอตีบที่ส่งตรวจทั้งหมด 306 ราย ส่งจากหน่วยงานในจังหวัดมหาสารคาม 174 ราย (ร้อยละ 56.9 ) ขอนแก่น 94 ราย (ร้อยละ 30.7 ) สกลนคร 28 ราย (ร้อยละ 9.2) และร้อยเอ็ด 10 ราย (ร้อยละ 3.3) โดยตัวอย่างที่ส่งตรวจส่วนใหญ่เป็น Throat swab จำนวน 303 ราย (ร้อยละ 99) ส่วนอีก 3 ตัวอย่างเป็นตัวอย่างเชื้อ C. diphtheriae ผู้ป่วย หรือผู้สัมผัสเป็นเพศหญิง 188 ราย (ร้อยละ 61.4) และเพศชาย 118 ราย (ร้อยละ 38.6) จากการตรวจเพาะเชื้อของตัวอย่างที่ส่งตรวจทั้งหมด พบว่ามีการติดเชื้อคอตีบ (C. diphtheriae) จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 1.3) เป็นเชื้อคอตีบ (C. diphtheriae) สายพันธุ์ที่สร้างทอกซิน จำนวน 1 ราย (ร้อยละ 0.3) และเป็นเชื้อคอตีบ (C. diphtheriae) สายพันธุ์ที่ไม่สร้างทอกซิน จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 1.0) โดยทั้ง 4 รายมีอายุระหว่าง 9-12 ปี จากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ายังคงพบการแพร่ระบาดของโรคคอตีบโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก ดังนั้นการรณรงค์การควบคุมและป้องกันโรคคอตีบจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคในวัยเด็ก รวมทั้งการเฝ้าระวังการระบาดของโรคด้วยการสร้างเครือข่ายการตรวจวินิจฉัยเชื้อคอตีบทางห้องปฏิบัติการ จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ทราบข้อมูลทางระบาดวิทยา อันจะนำไปสู่การควบคุม และป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น