การพัฒนารูปแบบการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการจัดการแก้ไขปัญหาโรคเบาหวาน ตำบลหนองกุง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การสร้างความเข้มแข็งชุมชน, การจัดการความรู้, โรคเบาหวานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และกระบวนการจัดการความรู้ (KM) เพื่อทำให้เกิด Best practice ในการจัดการแก้ไขปัญหาโรคเบาหวาน ดำเนินงานโดยการสร้างทีมวิจัยในการร่วมกันพัฒนาแกนนำ การประยุกต์การจัดการความรู้ และการสร้างโครงสร้างจำลองการบริหารตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และผู้นำชุมชน โดยจำลองแบบบริหารของคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการชัดเจน และใช้กระบวนการจัดการความรู้มาใช้ในการถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการจัดเสวนา ประชุมแถลงนโยบาย และผลการดำเนินงานตามนโยบายของ ครม.จำลอง เพื่อสนับสนุนการจัดการกำหนดนโยบาย แผนงาน และกิจกรรมการแก้ไขปัญหาโรคเบาหวาน พื้นที่ศึกษา คือ ตำบลหนองกุง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน (KM) ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสังเกต แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีเสวนาชาวบ้าน ประชากรศึกษา ได้แก่ ทีมนักวิจัย แกนนำชุมชน บุคลากรจาก อบต. สถานีอนามัย และสาธารณสุขอำเภอ รวมทั้งประชากร ที่ได้รับการสำรวจหากลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 35 ปีขึ้นไป รวม 1,085 คน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและผู้ป่วยเบาหวาน มีพฤติกรรมการออกกำลังกายน้อยเพียงร้อยละ 25.3 มีประวัติในครอบครัวเป็นเบาหวานร้อยละ 53.4 เป็นโรคอ้วนร้อยละ 43.5 และมีสตรีที่คลอดบุตรน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 1.3 ผลการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน มีการสร้างแกนนำ 3 กลุ่ม เพื่อช่วยแก้ปัญหาโรคเบาหวาน คือ 1) แกนนำเยี่ยมบ้าน 2) แกนนำบริหาร 3) แกนนำกลุ่มผู้ป่วยและญาติ ผู้สามารถช่วยงานได้ผลดี ในการสร้างความเข้มแข็งชุมชนในการแก้ปัญหาเบาหวาน จนเกิด Best practice และไม่มีผู้ป่วยเบาหวานถูกตัดขาเลย ผลการจัดตั้ง ครม. จำลองประจำตำบลหนองกุง ซึ่งมีนายก อบต. เป็นนายกรัฐมนตรี และผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการเสนอชื่อจากที่ประชุม เป็นรัฐมนตรีด้านสาธารณสุข ศึกษาธิการ เกษตรและสหกรณ์ การท่องเที่ยวและกีฬา ผู้ใหญ่บ้านสามารถวางแผนงานและกิจกรรมของแต่ละกระทรวง ซึ่งเชื่อมโยงและบูรณาการในการพัฒนาความเข้มแข็งชุมชนในการจัดการแก้ไขปัญหาเบาหวานให้เกิด Best practice ทั้งในด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค โดยจะมีการออกกำลังกาย การลดความเครียด การดูแลตนเอง การใช้สมุนไพร และการบริโภคอาหาร มีการส่งเสริมให้ปลูกข้าวเจ้าแทนข้าวเหนียว ปลูกผักในครัวเรือน ส่งเสริมการส่งพืชผลออกไปค้าขายกับพื้นที่อื่น การให้ความรู้เรื่องเบาหวาน โดยนักเรียนจัดรายการเสียงตามสาย ดังนั้น การวิจัยนี้ นอกจากจะเป็นการช่วยลดปัญหาโรคเบาหวานได้ระดับหนึ่ง โดยการจัดการของผู้นำชุมชน หรือ ครม. จำลองแล้ว ยังเป็นงานวิจัยที่สร้างความเข้มแข็งในชุมชนที่ควรจะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการพัฒนาปัจจัยเกี่ยวข้องและระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น