วิเคราะห์รายงานการสอบสวนและควบคุมโรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2551 เขตตรวจราชการที่ 10 และ12
คำสำคัญ:
โรคไข้เลือดออก, รายงานสอบสวนโรคบทคัดย่อ
การวิเคราะห์รายงานการสอบสวนโรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2551 เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษารายงานการสอบสวนและควบคุมโรคไข้เลือดออกและประเมินคุณภาพรายงานการสอบสวนโรค พ.ศ.2551ของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในเขตตรวจราชการที่10 และ12 ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์รายงานสอบสวนโรค บันทึกข้อมูลลงในแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Epi Info สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ มัธยฐาน และพิสัย
รายงานการสอบสวนโรคปีพ.ศ.2551 ที่ศึกษาวิเคราะห์ทั้งหมด 69 ฉบับ ผู้ป่วยทั้งหมดมาด้วยอาการไข้ และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ตั้งแต่รับไว้รักษาในช่วงสองวันแรกร้อยละ 58.97 และเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลนาน 3-4 วัน ร้อยละ 57.78 สถานที่เกิดโรคส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ใหม่ที่ไม่เคยเกิดโรคติดต่อกัน 3ปีร้อยละ 84.06 และมีการติดเชื้อภายในบริเวณบ้านร้อยละ76.81 ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วออกสอบสวนโรคเนื่องจากเป็นผู้ป่วยรายแรกร้อยละ 82.61 และออกสอบสวนหลังทราบข่าวการเกิดโรคในพื้นที่ภายใน 24 ชั่วโมงร้อยละ 89.86 และออกควบคุมโรคภายในวันเดียวกัน โดยการให้สุขศึกษา/ประชาสัมพันธ์ การพ่นหมอกควันและการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์มากกว่าร้อยละ 80 อย่างไรก็ตามทีมฯไม่ได้ระบุช่วงเวลาที่พ่นสารเคมี ร้อยละ 91.80 ผู้ที่ดำเนินการพ่นคือ อสม.ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ มีร้อยละ 83.6 และมีการดำเนินการเฝ้าระวังโรคหลังดำเนินการและพบว่ามีผู้ป่วยใหม่เพียงร้อยละ10
คุณภาพรายงานสอบสวนโรค พบว่า การตั้งชื่อเรื่องได้เหมาะสม ร้อยละ 63.77 มีการกำหนดนิยามในการค้นหาผู้ป่วยร้อยละ 63.77 และกำหนดนิยามได้ถูกต้องร้อยละ 65.91 การยืนยันการวินิจฉัยโรคใช้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นร้อยละ88.41 และสามารถระบุแหล่งโรคได้ร้อยละ 66.67 การควบคุมโรคเบื้องต้นและให้ข้อเสนอแนะในการควบคุมป้องกันโรคได้เหมาะสมมากกว่าร้อยละ80 แต่ไม่สามารถระบุชนิดสารเคมี หรือช่วงเวลาที่ใช้พ่นได้ ส่วนการเฝ้าระวังโรคหลังการควบคุมโรคมีเพียงร้อยละ 10.14
รายงานการสอบสวนโรคสะท้อนให้เห็นกระบวนการสอบสวนโรคของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในพื้นที่ดังนั้นทีมฯควรต้องเน้นการยืนยันการวินิจฉัยโรคโดยใช้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นให้มากขึ้น มีการกำหนดนิยามในการค้นหาผู้ป่วย ตลอดจนต้องระบุสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมโรค มีการเฝ้าระวังการเกิดโรคในพื้นที่ให้มากขึ้น และหาวิธีการเชิญชวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการควบคุมโรคมากขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น