การประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการเครือข่ายด้านการทดสอบความชำนาญ ทางห้องปฏิบัติการเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก
บทคัดย่อ
นโยบายด้านสาธารณสุขของรัฐบาลในการสร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนให้สามารถเข้าถึงระบบ
บริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและเสมอภาคเท่าเทียมกัน การพัฒนาคุณภาพบริการทางห้องปฏิบัติการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เป็นกลไกหนึ่งของกระบวนการตรวจสอบระบบคุณภาพที่จะใช้ประเมินคุณภาพบริการทั้งด้านบุคลากร และระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ การทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการประเมินคุณภาพโดยองค์กรภายนอก ผลการประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวสามารถใช้ในการติดตามการดำรงไว้ซึ่งคุณภาพของห้องปฏิบัติการ และเป็นเงื่อนไขหนึ่งในกระบวนการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานแห่งชาติและมาตรฐานสากลศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 ขอนแก่น ได้ดำเนินแผนการทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกโดยวิธี Immunochromatography ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 จนถึงปัจจุบัน ดำเนินการมาตรฐานสากล ISO/IEC 17043 ให้บริการสมาชิกทั่วประเทศ มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปีงบประมาณ 2555 มีจำนวนสมาชิก 143 แห่ง ส่งตัวอย่างให้สมาชิกดำเนินการ 2 ครั้งต่อปี ผลการประเมินมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2552-2555 ผลประเมินผ่านเกณฑ์ร้อยละ74.2, 80.9, 88.3 และ 91.7 ตามลำดับ สรุปปัญหาการรายงานผลไม่ถูกต้อง เกิดจากการเลือกใช้ชุดทดสอบ เทคนิคการตรวจวิเคราะห์ การอ่านผลและการแปลผล ระยะเวลาการตรวจวิเคราะห์หลังได้รับตัวอย่าง และยังได้ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจในการดำเนินงาน
ผลสำรวจสมาชิกมีความพึงพอใจเฉลี่ยร้อยละ 86.52 ดังนั้นการดำเนินการทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การสนับสนุนระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ และดำรงไว้ซึ่งคุณภาพของห้องปฏิบัติการอย่างยั่งยืน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น