พฤติกรรมสุขภาพ ในการป้องกันโรคติดเชื้อ Streptococcus suis ของประชาชนในตำบลนาขมิ้น และตำบลโพนจาน อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ, โรคติดเชื้อ Streptococcus suis, นครพนมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ และการปฏิบัติ ในการป้องกันโรคติดเชื้อ Streptococcus suis ของประชาชน ในตำบลนาขมิ้น และตำบลโพนจาน อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม จำนวน 377 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างจากตำบลนาขมิ้น 276 คน และตำบลโพนจาน 101 คน เก็บตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (systematic random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Pearson correlation) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการศึกษาพบว่า ความรู้โดยรวมเกี่ยวกับเชื้อ Streptococcus suis ความเชื่อและทัศนคติต่อการบริโภคอาหารดิบ และการปฏิบัติในการป้องกันโรคติดเชื้อ Streptococcus suis ของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับปานกลาง โดยที่ความเชื่อและทัศนคติที่มีต่อการบริโภคอาหารดิบมีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ Streptococcus suis และ การปฏิบัติในการป้องกันโรคติดเชื้อ Streptococcus suis โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ r = -0.320 และ r = -0.368 ตามลำดับ (P< 0.05) ส่วนความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ Streptococcus suis มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ การปฏิบัติในการป้องกันโรคติดเชื้อ Streptococcus suis โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ r = 0.235 (P<0.05) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและมีการประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ Streptococcus suis การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรค และให้ความรู้กับประชาชนอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความเชื่อและทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริโภคอาหารดิบ และมีการเฝ้าติดตามผล รวมทั้งมีการสำรวจการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดเชื้อ Streptococcus suis อย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น