การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็นในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
วัคซีน, ระบบลูกโซ่ความเย็น, เครือข่ายปฐมภูมบทคัดย่อ
วัคซีนจะคงคุณภาพดีต้องอยู่ในระบบลูกโซ่ความเย็นที่มีอุณหภูมิเหมาะสมตั้งแต่จัดเก็บและกระจายวัคซีนจนถึงผู้รับบริการ ถ้าเกิดปัญหาในระบบลูกโซ่ความเย็นจะส่งผลให้ประสิทธิผลของวัคซีนลดลงจนถึงไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันโรค การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็นในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของหน่วยบริการปฐมภูมิ เก็บข้อมูลระหว่างธันวาคม 2556 ถึง เมษายน 2557 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ data logger วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า ก่อนการพัฒนาระบบเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิไม่มีรูปแบบการบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็นที่ชัดเจน หลังจากทำการศึกษาเพื่อพัฒนาระบบแล้วได้รูปแบบที่เป็นมาตรฐานของหน่วยบริการที่สามารถยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติของเครือข่ายเอง ผลการศึกษาระยะทางในการขนส่งวัคซีนจากโรงพยาบาลถึงหน่วยบริการปฐมภูมิเฉลี่ย 9.62 กิโลเมตร (SD=3.43) ผลการพัฒนาระบบลูกโซ่ความเย็นในเครือข่าย พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของหน่วยบริการปฐมภูมิมีสภาวะอุณหภูมิที่เหมาะสม (+2 ถึง+8°C) ผลการศึกษาระยะเวลาในการเตรียม Ice pack ให้เหมาะสำหรับการขนส่งวัคซีน (Conditioning time) มีค่าเท่ากับ 50 นาที (SD=6.24) ซึ่งเป็นที่มาของการจัดทำมาตรฐานการใช้ Ice pack ใส่กระติกวัคซีนของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
สรุปผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาการบริหารจัดการระบบลูกโซ่ความเย็นให้มีประสิทธิภาพส่งผลให้สามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมได้ (+2 ถึง+8ºC) หากหน่วยบริการมีการจัดการระบบลูกโซ่ความเย็นไม่เหมาะสม อาจเสี่ยงต่อการทำให้วัคซีนสูญเสียความคงตัว จึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนาระบบ อีกทั้งควรมีการศึกษาให้ครอบคลุมหน่วยบริการปฐมภูมิทุกแห่งในเขตจังหวัดสุรินทร์ต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น