ตัวแบบทำนายประสิทธิผลการใช้ยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ พื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ป่วยเอดส์, ยาต้านไวรัสเอดส์, ปริมาณไวรัสในกระแสเลือด การกินยาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างตัวแบบทำนายประสิทธิผลการใช้ยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ เมื่อติดตามผลการรักษาเป็นระยะเวลา 1 ปี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้า (Retrospective cohort study) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากโครงการ NAP ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ข้อมูลที่ใช้ในการสร้างตัวแบบ เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 - 31 พฤษภาคม 2555 ข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบตัวแบบเป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2555 - 5 กรกฎาคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการถดถอยพหุโลจิสติก และประเมินความสามารถในการทำนายด้วยพื้นที่ใต้โค้งอาร์โอซี (Receiver operating characteristics (ROC Curve))
ผลการศึกษา: จากการวิเคราะห์หาประสิทธิผลการรักษาด้วยยาต้านไวรัส พบว่า หลังการรักษาด้วยยาต้านไวรัส 1 ปี มีผู้ป่วยร้อยละ 73.8 (95%CI=68.6-78.6) จาก 317 ราย มีปริมาณเชื้อไวรัส < 50 copies/mL และผู้ป่วยมีระดับ CD4 เพิ่มขึ้น > 100 cell/mm3 ร้อยละ 71.6 (95%CI=66.3-76.5) ตัวแบบสุดท้ายที่ได้ ประกอบด้วยตัวแปรเพศ การกินยาอย่างสม่ำเสมอ ประเภทสูตรยาต้านไวรัส และระดับ CD4 ก่อนการรักษา เมื่อทดสอบความสามารถในการทำนาย พบว่ามีพื้นที่ใต้โค้งอาร์โอซีเท่ากับ 64.3 (95%CI: 57.7-71.0) ณ จุดตัดความน่าจะเป็น > 0.71 มีค่าความไว ร้อยละ 76.1 (95%CI : 71.4-80.8) ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 41.0 (95%CI : 35.6-46.4) ค่าความถูกต้อง ร้อยละ 66.9 (95%CI : 61.4-72.0) ค่าทำนายผลบวก ร้อยละ 78.4 (95%CI : 73.9-82.9) ค่าทำนายผลลบ ร้อยละ 37.8 (95%CI : 32.4-43.1) LR+ เท่ากับ 1.3 และ LR- เท่ากับ 0.6 และเมื่อนำตัวแบบไปทดสอบกับชุดข้อมูลทดสอบ พบว่ามีพื้นที่ใต้โค้งอาร์โอซีเท่ากับ 60.1 (95%CI: 57.7-71.0) ณ จุดตัดความน่าจะเป็น > 0.71 มีค่าความไว ร้อยละ 31.76 (95%CI : 25.7-37.8) ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 83.5 (95%CI : 78.7-88.4) ค่าความถูกต้อง ร้อยละ 49.8 (95%CI : 43.1-56.5) ค่าทำนายผลบวก ร้อยละ 78.3 (95%CI : 73.0-83.7) ค่าทำนายผลลบ ร้อยละ 39.5 (95%CI : 33.2-45.9) LR+ เท่ากับ 1.2 และ LR- เท่ากับ 0.3
สรุปและข้อเสนอแนะ: ตัวแบบที่ได้มีความสามารถในการทำนายในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามผลการศึกษาพบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่มีร้อยละการกินยาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอต่ำ และมีระดับ CD4 ก่อนการรักษาที่ต่ำ มีโอกาสเสี่ยงที่จะมีปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นภายหลังการรักษา ดังนั้นแพทย์ พยาบาล ผู้เกี่ยวข้องและตัวผู้ป่วยเองควรให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการรักษา เพื่อลดการเสียชีวิต ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน และรักษาสุขภาพเพื่อให้มีชีวิตยืนยาวต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น