โปรแกรมการประยุกต์การสร้างเสริมทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พิพัฒน์พล พินิจดี Faculty of Public Health, Khon Kean University
  • จุฬาภรณ์ โสตะ Faculty of Public Health, Khon Kean University

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมทักษะชีวิต, ป้องกันการสูบบุหรี่, นักเรียน, มัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 49 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น มีการประยุกต์การสอนทักษะชีวิตขององค์การอนามัยโลกร่วมกับกรมสุขภาพจิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะชีวิตภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ และเก็บข้อมูล 12 สัปดาห์โดยมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบค่ายไปกลับเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent Sample t – test และ Paired Sample t – test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลของการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีระดับความรู้สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และคะแนนการพัฒนาทักษะชีวิตทั้ง 12 ด้าน พบว่าหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) สรุปจากผลการศึกษาพบว่า เมื่อกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตแล้ว กลุ่มทดลองมีความรู้มากขึ้น และคะแนนทักษะชีวิตด้านต่างๆ สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ โดยเป็นผลมาจากการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม คือ การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ และการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการที่จัดให้ผู้เรียนสามารถดึงความรู้ ศักยภาพ และประสบการณ์ของตนเองมาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ได้ซึ่งแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตมีความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้เพื่อให้เกิดการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-04