การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ระดับอำเภอ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พรพิมล จิตธรรมมา Sub district health hospital Nongwangyai
  • ชนะพล ศรีฤาชา The faculty of Public Health, KhonKaen University

คำสำคัญ:

มาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอ, การสนับสนุนจากองค์การ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Analytic Study) เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอในจังหวัดอุดรธานีกลุ่มประชากรคือผู้ที่มีคำสั่งในทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอ ทำการสุ่มแบบชั้นภูมิได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน  140คน และสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างจำนวน 10 คน ใช้แบบสอบถามที่วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช0.97 และแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างวันที่ 17 มีนาคม – 30 เมษายน 2557 นำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 55.7 มีอายุเฉลี่ย 37.51 ปี (S.D.= 9.96) สถานภาพการสมรสคู่ ร้อยละ 59.3จบระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ77.9 มีรายได้อยู่ในระหว่าง 15,001 – 30,000  บาท ร้อยละ 44.3(S.D.=11,767.69)ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ร้อยละ 52.1   ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านระบาดวิทยา<9 ปีร้อยละ 55.7 ผ่านการฝึกอบรมด้านระบาดวิทยา ร้อยละ79.3 และมีบทบาทเป็นผู้ร่วมทีมร้อยละ 67.9ส่วนระดับการสนับสนุนจากองค์การและการปฏิบัติงานงานตามมาตรฐานของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอจังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.70 (S.D.=0.50)และ 3.91 (S.D.=0.45)ตามลำดับ ระดับความสัมพันธ์ของคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่าการฝึกอบรมด้านระบาดวิทยา มีความสัมพันธ์ระดับต่ำกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r=0.188, p-value =0.028)ส่วนการสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์ระดับมากกับการปฏิบัติงานปฏิบัติงานตามมาตรฐานของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอ ในจังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.712,p-value<0.001) ตัวแปรที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอ จังหวัดอุดรธานี คือ การสนับสนุนจากองค์กรด้านการบริหารจัดการและด้านเวลา สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอ จังหวัดอุดรธานี ได้ร้อยละ 55.8

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02