การสอบสวนผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีสเสียชีวิต ต.หนองเม็ก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม 9-30 มิถุนายน 2558
คำสำคัญ:
โรคเลปโตสไปโรซีส, เสียชีวิต, แหล่งน้ำ, จังหวัดมหาสารคามบทคัดย่อ
ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team ;SRRT) อำเภอ นาเชือก และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามร่วมกันสอบสวนผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีสเสียชีวิต ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ใน ตำบลหนองเม็กเพื่อยืนยันการวินิจฉัยหาปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ สาเหตุการเสียชีวิต และกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและควบคุมโรค
การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการรวบรวมข้อมูลทะเบียนประวัติผู้ป่วยของสถานพยาบาล ร่วมกับการสอบถามแพทย์ ภรรยา และญาติที่ดูแลก่อนเสียชีวิต ถึงการเจ็บป่วย การรักษา และพฤติกรรมเสี่ยงก่อนป่วยพร้อมกับศึกษาสภาพแวดล้อมเฝ้าระวังผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมกับผู้เสียชีวิต เก็บตัวอย่างหนู แหล่งน้ำที่สงสัยและปัสสาวะวัวที่ผู้ป่วยเลี้ยง ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อพิสูจน์การติดเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีสในพื้นที่
ผลการสอบสวน เป็นผู้ป่วยชายไทยอายุ 46 ปีอาชีพเกษตรกรรมเริ่มป่วยวันที่ 6 มิถุนายน 2558 ด้วยอาการไข้หนาวสั่นปวดตามร่างกาย รับประทานยาลดไข้นอนพักรักษาตัวที่บ้านวันที่ 7มิถุนายน 2558 มีอาการไข้หนาวสั่นปวดตามร่างกาย เหนื่อยเพลียภรรยาจึงนำผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่คลินิกแพทย์แห่งหนึ่งในอำเภอนาเชือก แพทย์ให้ยาลดไข้ แก้ปวด และยาฆ่าเชื้อ มารับประทานที่บ้าน แต่อาการไม่ดีขึ้น วันที่ 9 มิถุนายน 2558 เวลา 07.46 น. ภรรยาจึงนำผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลนาเชือกด้วยอาการไข้ หนาวสั่น ปวดจุกแน่นท้องใต้ลิ้นปี่ ปวดตามร่างกาย หายใจไม่สะดวกก่อนมา 2 ชั่วโมงผลการตรวจร่างกายแรกรับ อุณหภูมิ 36.5องศาเซลเซียส ชีพจร 110 ครั้ง/นาที การหายใจ 32 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 70/40มิลลิเมตรปรอทผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัวผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น
Leptospirosispositive ผลตรวจเลือด Hct41.9 % , WBC 1,700 cell/mm3 , Plateletes73,000 cell/mm3 , Neutrophils 79 % , Lymphocytes 18 % , BUN 32.6 , Creatinine3.58 , Electrolyte Na 133.5, K 3.02 , CO224.3, Cl91.9ผลการตรวจ Igm Leptospirosis ผล Positive ผลตรวจเลือดวัวและตรวจน้ำเหลืองจากวัว ไม่พบเชื้อ Leptospirosis แต่ผลการตรวจปัสสาวะวัว พบเชื้อLeptospirosis ผลการตรวจน้ำในอ่างสำหรับวัวกิน พบสารพันธุกรรมเชื้อ Leptospirosis ส่วนน้ำจากทุ่งนาบริเวณข้างคอกวัว และน้ำจากห้วยลำพังชู ไม่พบสารพันธุกรรมเชื้อ Leptospirosisส่วนหนูไม่สามารถจับได้ และวัวของผู้เสียชีวิตไม่ยอมให้เก็บตัวอย่างส่งตรวจ จึงไม่สามารถระบุ Pathogenic จาก Leptospirosis ได้แพทย์วินิจฉัย Leptospirosis แพทย์ส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาสารคามเมื่อวันที่9มิถุนายน 2558 เวลา 09.13 น. ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาสารคามแต่อาการไม่ดีขึ้นมีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ 1 ครั้ง เวลา 16.49 น. แพทย์ช่วยหายใจด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจ และการช่วยฟื้นคืนชีพ ผู้ป่วยเสียชีวิต เวลา 17.45 น. วันที่ 9 มิถุนายน 2558
ข้อเสนอแนะจากการสอบสวนครั้งนี้คือ ภาชนะที่บรรจุน้ำสำหรับให้วัวดื่ม หรือภาชนะต่างๆ ตามฉางข้าวข้างทุ่งนา หรือคอกวัว ควรระมัดระวัง อาจมีเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีส หรือเชื้อก่อโรคอื่นๆ ซึ่งมีเชื้อปนเปื้อนจากปัสสาวะหนูได้ โดยเฉพาะพื้นที่ ที่มีความชุกของหนู
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น