สุนทรีทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
สุนทรีทักษะภาวะผู้นำ, การปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytic Study) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสุนทรีทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 652 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 199 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช ได้เท่ากับ 0.97 การเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม 2558 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดย Stepwise multiple linear regressions กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า สุนทรีทักษะภาวะผู้นำที่ และการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่นภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.94 (S.D.=0.62)และ 4.14(S.D.=0.47) ตามลำดับ สุนทรีทักษะภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r=0.571, p-value <0.001) สุนทรีทักษะภาวะผู้นำด้านการพัฒนาคนและการสอนงาน และด้านทักษะการนำเสนอสามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่นได้ร้อยละ 37.0 (R2 =0.37,p-value<0.001 ) ปัญหาอุปสรรคที่พบส่วนใหญ่คือ ผลลัพธ์การดำเนินการด้านประสิทธิภาพของกระบวนการให้บริการ ผลลัพธ์การดำเนินการด้านประสิทธิผล และ ผลลัพธ์การดำเนินการด้านคุณภาพของกระบวนการและคุณภาพในมุมมองของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามลำดับ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น