การมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคมือเท้าปาก ในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนพื้นที่อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • บุญเทียน อาสารินทร์ Office of Disease Prevention and Control 6 Khon Kaen
  • นรา เทียมคลี Office of Disease Prevention and Control 6 Khon Kaen
  • สมพร อุ่นคำ PhuKraDueng District Health Office

คำสำคัญ:

โรคมือเท้าปาก, ศูนย์เด็กเล็ก, โรงเรียนระดับประถมศึกษา, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคมือเท้าปาก ประชากรที่ศึกษาจำนวน 59 คน ประกอบด้วย ครูผู้ดูแลเด็ก ครูอนามัยโรงเรียนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในอำเภอภูกระดึง ดำเนินการระหว่างสิงหาคม 2557– กรกฎาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน t-test

          ผลการวิจัยพบว่า ประชากรที่ศึกษาส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงร้อยละ 91.1 อายุเฉลี่ย 42.9 ปี สถานภาพคู่ร้อยละ 75.0 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 89.3 ระยะเวลาการทำหน้าที่เป็นครูผู้ดูแลเด็กเฉลี่ย 13.5 ปี เคยตรวจสุขภาพประจำปี 1 ครั้ง/ปี ร้อยละ 78.6 เคยผ่านการอบรมความรู้เรื่องโรคติดต่อร้อยละ 78.6 มีครูผู้ดูแลเด็กเฉลี่ย 3.2 คน/แห่ง และมีเด็กเฉลี่ย 48.5 คน/แห่ง การดำเนินงานป้องกันโรคมือเท้าปาก มีดังนี้ 1) การประชุมวางแผนแบบมีส่วนร่วมได้แผนงานเพื่อนำไปดำเนินการจำนวน 4 โครงการ ได้แก่โครงการร่วมมือร่วมใจห่างไกลโรคมือเท้าปาก โครงการศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียนใสสะอาด โครงการเด็กน้อยมือใสใส่ใจความสะอาด และโครงการตรวจจับสกัดกั้นโรคมือเท้าปาก  2)การเปรียบเทียบความรู้และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคมือเท้าปากของประชากรที่ศึกษา หลังดำเนินการมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value<0.001)ที่ระดับ 0.05 และ 3)การเปรียบเทียบผู้ป่วย 1 ปี ก่อนดำเนินการมีจำนวน 92 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 257.07 ต่อแสนประชากร หลังดำเนินการมีจำนวน 44 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 151.79 ต่อแสนประชากร ลดลงร้อยละ 40.95

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28