ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านการยศาสตร์ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจากการทำงานของ บุคลากรโรงพยาบาลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุวัฒน์ ชำนาญ Mahasarakham University
  • ณัฐจาพร พิชัยณรงค์ Mahasarakham University
  • รณรุทธ์ บุตรแสนคม Mahasarakham University

คำสำคัญ:

โรคกล้ามเนื้อและกระดูก, การยศาสตร์, ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

บทคัดย่อ

โรคกล้ามเนื้อและกระดูกเป็นโรคเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและเศรษฐกิจโดยรวม และอัตราป่วยยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นสองกลุ่ม มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านการยศาสตร์ในสถานที่ทำงาน เพื่อลดพฤติกรรมความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจากการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในโรงพยาบาลที่เสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ต่อโรคกล้ามเนื้อและกระดูก จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 40 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่เข้าเกณฑ์ที่กำหนดและโดยการอาสาสมัคร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ การแจกแจงความถึ่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test Paired t-test และ ANCOVA กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 

          ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังดำเนินกระบวนการตามโปรแกรม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพในเรื่องการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรค การป้องกันโรคกล้ามเนื้อและกระดูก และพฤติกรรมการป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยงมากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ นอกจากนี้ยังพบว่าการเมื่อยล้าหรือเจ็บปวดกล้ามเนื้อ หรือกระดูกลดลงกว่าก่อนการทดลองและน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

          โดยสรุป การจัดกิจกรรมตามโปรแกรมการดำเนินงานที่เป็นการสร้างหน่วยงานต้นแบบที่เน้นการทำงานเป็นสุข ปลอดภัยและห่างไกลโรคจากการทำงานที่เป็นกระบวนการที่เด่นชัด และมีขั้นตอนอย่างเป็นระบบ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27