การพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ของแรงงานต่างด้าวจังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนาการดำเนินงาน, กองทุนหลักประกันสุขภาพคนต่างด้าวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและประเมินสภาพการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพศึกษากระบวนการพัฒนาและปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวของจังหวัดอุดรธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพคนต่างด้าวและผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงาน ผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน นายจ้าง และแรงงานสัญชาติลาว จำนวน 54 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยแบบสอบถามและแบบประเมินกองทุน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานคือ Paired t – test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน 3) ทำแผนปฏิบัติการ 4) ปฏิบัติการตามแผน 5) ประเมินตนเองตามแบบประเมินกองทุน 6) นิเทศติดตามผลการดำเนินงาน 7) ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 8) สรุปเปรียบเทียบผลการพัฒนาก่อนและหลังการพัฒนา และ 9) สรุปปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ กระบวนการดังกล่าวนำไปสู่ความสำเร็จในการมีกิจกรรมส่งผลกลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้เพิ่มขึ้นจากค่าคะแนนเฉลี่ย14.85 (S.D.=2.31) ระดับความรู้ปานกลาง เพิ่มเป็น 18.35 (S.D.=2.37)ระดับความรู้สูง การมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นจากค่าคะแนนเฉลี่ย 2.17(S.D.=0.54) ระดับน้อยที่สุด เพิ่มขึ้นเป็น 3.74 (S.D.=0.17) ระดับการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.0001)
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในครั้งนี้เกิดจากคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ และการเข้าถึงสภาพปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงของแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตาม กระบวนการพัฒนาเกิดจากการมีส่วนร่วมของหน่วยงานทุกภาคส่วน รวมถึงผู้บริหารระดับสูงมีส่วนในการร่วมคิดร่วมวางแผนร่วมปฏิบัติและร่วมแก้ไขพัฒนาส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น