การพัฒนาการดำเนินงานควบคุมพาหะนำโรคและแหล่งรังโรคกาฬโรคตามมาตรฐาน กฎอนามัยระหว่างประเทศด่านช่องทางเข้าออกประเทศท่าอากาศยานอุดรธานี
คำสำคัญ:
การควบคุมพาหะนำโรคและแหล่งรังโรค, การมีส่วนร่วม, ช่องทางเข้าออกประเทศบทคัดย่อ
การควบคุมพาหะนำโรคและแหล่งรังโรคกาฬโรคในด่านช่องทางเข้าออกประเทศ เป็นการเฝ้าระวังโรคติดต่อระหว่างประเทศที่สำคัญ ตามมาตรฐานกฎอนามัยระหว่างประเทศในด่านช่องทางเข้าออกประเทศ การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการดำเนินงานควบคุมพาหะนำโรคและแหล่งรังโรคกาฬโรคด่านช่องทางเข้าออกประเทศท่าอากาศยานอุดรธานี โดยทำการศึกษากลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานอุดรธานี จำนวน 109 คน กระบวนการดำเนินงานควบคุมพาหะนำโรคและแหล่งรังโรคกาฬโรคโดยหน่วยงานเครือข่ายมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหา 2) กระบวนการสนทนากลุ่ม 3) สังเคราะห์แนวทาง 4) ทำแผนกิจกรรม 5) ปฏิบัติตามแผนกิจกรรม 6) ติดตามและสังเกตผล 7) บันทึกผลการดำเนินงาน 8) สรุปและประเมินผล 9) แลกเปลี่ยนความคิดข้อเสนอแนะ และนำเสนอข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากระดับความรู้เฉลี่ย 5.97 (S.D.=2.47) เพิ่มเป็น 12.69 (S.D.=1.39) และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากระดับการมีส่วนร่วมเฉลี่ย 1.61 (S.D.=0.49) เพิ่มเป็น 2.08 (S.D.=0.32) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p <0.001) กระบวนการดังกล่าวนำไปสู่ความสำเร็จในการมีกิจกรรมดำเนินงานควบคุมพาหะนำโรคและแหล่งรังโรคกาฬโรค ส่งผลให้ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศท่าอากาศยานอุดรธานี ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานสมรรถนะหลักด่านช่องทางเข้าออกประเทศตามกฎอนามัยระหว่างประเทศที่กำหนด
สรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จ ในการพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) การเพิ่มองค์ความรู้ ความเข้าใจ 2) การสร้างภาคีเครือข่าย 3) การมีส่วนร่วม 4) การกำกับติดตามและประสานงาน ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานในช่องทางเข้าออกประเทศให้ได้มาตรฐานต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น