รูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, การดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ, เครือข่ายชุมชนบทคัดย่อ
การดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทห่างไกลเป็นอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งแตกต่างไปจากสภาพพื้นที่และบริบทสังคมอื่น การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชนของตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและเป็นเครือข่ายในชุมชน โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 41 คน และดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2558 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบทดสอบ และแบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ Paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน ครั้งนี้ มี 6 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพปัญหา 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนแบบมีส่วนร่วม 3) จัดทำแผนปฏิบัติการ 4) ปฏิบัติตามแผนงาน/โครงการ 5) ติดตามสนับสนุนและประเมินผลการดำเนินงาน 6) จัดเวทีแลกเปลี่ยนและถอดบทเรียน ผลการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้เรื่องเกณฑ์มาตรฐานตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชนเพิ่มขึ้นกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) กระบวนการดังกล่าวส่งผลให้การประเมินผลดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของตำบลโนนศิลาผ่านเกณฑ์มาตรฐานตำบลดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานครั้งนี้ เกิดจาก 1) การใช้กลยุทธ์การสร้างการมีส่วนร่วมโดยเครือข่ายในชุมชนให้เข้าร่วมดำเนินการ 2) สร้างระบบการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 3) ส่งเสริมกิจกรรมให้ผู้สูงอายุดูแลกันเอง ปัจจัยดังกล่าวนี้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายในที่สุด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น