ความไวของลูกน้ำยุงลายต่อสารเคมีทีมีฟอสในจังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การทดสอบความไว, ทีมีฟอส, ยุงลายบทคัดย่อ
การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้ความสำคัญกับการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ โดยเฉพาะภาชนะเก็บกักน้ำที่อยู่ในครัวเรือน อาทิ ตุ่มน้ำ โอ่งน้ำ อ่างซีเมนต์ในห้องน้ำ ถ้วยรองขาตู้กับข้าว แจกัน มาตรการมีทั้ง วิธีทางกายภาพ ชีวภาพ และสารเคมี สำหรับสารเคมีในการควบคุมลูกน้ำยุงลายในปัจจุบันนิยมใช้ทรายเคลือบสารเคมีทีมีฟอสซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำ ความเข้มข้นที่ 1 ppm ซึ่งมีความปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สามารถใส่ในน้ำดื่มและน้ำใช้ได้กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มนำสารเคมีทีมีฟอสมาใช้ในโครงการควบคุมโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ปี 2515 ปัจจุบันมีการผลิตออกมาหลากหลายรูปแบบและขนาดความเข้มข้น จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบความไวของลูกน้ำยุงลายบ้าน Aedesaegyptiต่อสารเคมีทีมีฟอสอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะมีความมั่นใจว่าสารเคมีทีมีฟอสที่ใช้ในปัจจุบันหลากหลายรูปแบบ และขนาดความเข้มข้น ยังคงมีประสิทธิภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงลายตามปริมาณ1 กรัม/น้ำ 10 ลิตร ที่ใช้ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีหรือไม่ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความไวของลูกน้ำยุงลายบ้านต่อสารเคมีทีมีฟอสโดยทดสอบตามวิธีการขององค์การอนามัยโลก ที่ค่าความเข้มข้น 0.02 มิลลิกรัม/ลิตร ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน ปี 2557 ผลการศึกษาพบว่าในพื้นที่ทดสอบทั้ง 20 พื้นที่ พบว่าส่วนใหญ่ลูกน้ำยุงลายบ้านในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีเริ่มมีการปรับตัวต้านต่อสารเคมีทีมีฟอสพบมี 3 พื้นที่ มีความไวในระดับปานกลางต่อสารเคมีทีมีฟอส (อัตราตายอยู่ระหว่าง 80-97%)ได้แก่ พื้นที่อำเภอทุ่งฝน,อำเภอหนองวัวซอ และอำเภอสร้างคอม อัตราตายร้อยละ96.96,88.88 และ 80.61 ตามลำดับที่เหลืออีก 17 พื้นที่มีความไวในระดับต่ำต่อสารเคมีทีมีฟอส (อัตราตาย < 80%) จึงสรุปได้ว่า ลูกน้ำยุงลายบ้านทดสอบในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ส่วนใหญ่เริ่มมีความไวในระดับต่ำต่อสารเคมีทีมีฟอสที่ใช้ควบคุมลูกน้ำยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก ดังนั้นการควบคุมลูกน้ำยุงลายในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีให้มีประสิทธิภาพ ต้องเร่งรัดให้ทุกภาคส่วนที่ใช้สารเคมีทีมีฟอสในการควบคุมลูกน้ำยุงลายให้ได้ตามมาตรฐานตามองค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ 1 กรัม/น้ำ 10 ลิตร และต้องใช้วิธีการอื่นๆ ในการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เหมาะสมร่วมด้วย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น