ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดกล้ามเนื้อของกลุ่มอาชีพเย็บผ้าโหล ตำบลน้ำโมงอำเภอท่าบ่อจังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • จันจิรา ทิพวัง Nammong Sub-District Health Promoting Hospital
  • กาญจนา นาถะพินธุ Faculty of Public Health, KhonKaen University

คำสำคัญ:

ความชุก, ปัจจัย, อาการปวดกล้ามเนื้อ, กลุ่มอาชีพเย็บผ้าโหล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดกล้ามเนื้อของกลุ่มอาชีพเย็บผ้าโหลตำบลน้ำโมงอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายโดยทำการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างกลุ่มอาชีพเย็บผ้าโหลจำนวน 277 คนใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอเป็นค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ากลาง ค่าพิสัย และสถิติเชิงอนุมานใช้แบบพหุถดถอยโลจิสติก(Multiple Logistic Regression)นำเสนอด้วยค่า Adjusted OR (ORadj) ที่ระดับช่วงความเชื่อมั่น 95%  

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มอาชีพเย็บผ้าโหลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ95.67 มีอายุตั้งแต่ 51ปีขึ้นไป (ต่ำสุด=20ปี,สูงสุด=66 ปี) ประสบการณ์การเย็บผ้าโหล 6-10 ปี ไม่มีการออกกำลังกายร้อยละ 45.49ลักษณะการนั่งทำงานไม่พิงพนักเก้าอี้ร้อยละ81.59 มีท่าทางการทำงานเป็นแบบก้มๆเงยๆร้อยละ 95.31 นั่งทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานานๆร้อยละ 86.28 ด้านการดูแลตนเองเมื่อเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนใหญ่จะนอนพักร้อยละ80.14 บีบนวดร้อยละ 65.34 เปลี่ยนอิริยาบทในการทำงานร้อยละ35.02  ช่วงระยะเวลาที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อมีการปวดขณะปฏิบัติงานงานร้อยละ69.68 ปวดเฉพาะช่วงเวลาตื่นนอนตอนเช้าร้อยละ 48.19และปวดเฉพาะหลังเลิกงานร้อยละ22.02 จากการศึกษาพบความชุกของอาการปวดกล้ามเนื้อรอบ 7 วันที่ผ่านมา ร้อยละ85.92 ความชุกบริเวณที่มีอาการปวดสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ไหล่ทั้งสองข้างร้อยละ 67.10(95% CI=61.58–72.71) ต้นขาขวาร้อยละ65.70 (95% CI=60.08–71.33) และข้อเท้าขวาร้อยละ 64.30 (95% CI= 58.58–69.94) และความชุกของอาการปวดกล้ามเนื้อรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 86.64 ในสัดส่วนที่สูง 3 ลำดับแรกได้แก่บริเวณข้อเท้าขวาร้อยละ 65.30 (95% CI= 59.70–70.98) บริเวณข้อมือขวาและเข่าขวาเท่ากันร้อยละ 64.60 (95% CI= 58.96–70.29)และไหล่ซ้ายและขวาร้อยละ 57.40 (95% CI= 51.54–63.26)เมื่อทดสอบหาความ

สัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดกล้ามเนื้อรอบ 7 วันที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ได้แก่ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่อวันมากกว่า 11 ชม.(ORadj=15.97; 95% CI =1.68-151.82)จำนวนครั้งในการพักงานต่อวัน (ORadj=0.03; 95% CI=0.11-0.60)การวางอุปกรณ์ไม่เหมาะสม(ORadj=0.31; 95%CI=0.13-0.74)  การทำงานในลักษณะท่าทางที่ก้มๆเงยๆการไม่นั่งพิงพนักเก้าอี้ขณะปฏิบัติงาน(ORadj=4.05; 95% CI=1.11-14.76)และรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ได้แก่การนั่งทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ(ORadj=4.32; 95% CI= 1.94-9.63)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27