การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรคมาลาเรีย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สมหมาย งึมประโคน Faculty of Public Health Mahasarakham University
  • จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์ ChaiyaphumRajabhat University
  • สมศักดิ์ ศรีภักดี BuriramProvincial Public Health Office

คำสำคัญ:

โรคมาลาเรีย, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การประชุมเชิงปฏิบัติการ.

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานและผลการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรคมาลาเรีย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 50 คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired Sample t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

           ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีการสร้างแกนนำโรคมาลาเรียและได้พัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรคมาลาเรียอย่างมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและบริบทของชุมชน2) ประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยการมีส่วนร่วม ในการค้นหาสาเหตุ วิเคราะห์ปัญหาโรคมาลาเรีย3) วางแผน/โครงการ เพื่อแก้ไขปัญหา 4) ดำเนินงานตามแผน/โครงการ 5) ให้ความรู้ การปฏิบัติตนที่ถูกต้อง กิจกรรมลดโรค สังเกตการณ์และรวบรวมผลการปฏิบัติงาน6) ประเมินการดำเนินงาน7) สรุปผลและการรายงานผลการดำเนินงาน

           สรุป การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรคมาลาเรียในพื้นที่ครั้งนี้ คือ ประชาชนมีความรู้ และมีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นเน้นการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของพื้นที่ โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงาน คือ ประชาชน ร่วมคิด ร่วมดำเนินการ ในการแก้ไขปัญหาได้ตรงกับความต้องการของชุมชน มีการสร้างแกนนำในพื้นที่และชุมชนมีเครือข่ายในการดำเนินงานร่วมกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27