ลักษณะการไปรับบริการตรวจวินิจฉัยโรคผิวหนังของโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ ขึ้นทะเบียนรักษา ปีงบประมาณ 2550-2554

ผู้แต่ง

  • ชัชชฎา ศรีชูเปี่ยม The office of Disease Prevention and Control 7th Khon Kaen
  • บุญทนากร พรมภักดี The office of Disease Prevention and Control 7th Khon Kaen
  • สุพัตรา สิมมาทัน The office of Disease Prevention and Control 7th Khon Kaen

คำสำคัญ:

โรคผิวหนัง, ผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการไปรับบริการตรวจโรคผิวหนังในโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อนที่ขึ้นทะเบียนรักษาในปีงบประมาณ 2550 -2554  รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกข้อมูลจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลตามสิทธิในระบบประกันสุขภาพ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยโรคเรื้อนที่ขึ้นทะเบียนรักษาในปีงบประมาณ 2550- 2554 จำนวน จำนวน 97 ราย ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2555 ถึง เดือนสิงหาคม 2556 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 45–74 ปี ร้อยละ 70 การอยู่อาศัยในที่อยู่ปัจจุบัน อยู่มาตั้งแต่เกิดร้อยละ 62.9 ย้ายตามครอบครัว แต่งงาน ร้อยละ 33 และหมู่บ้านที่อาศัยในปัจจุบันเคยมีผู้ป่วยโรคเรื้อนร้อยละ 60 ลักษณะความสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคเรื้อน เป็นคนในครอบครัวร้อยละ 54 เป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดร้อยละ 33 การย้ายที่อยู่ไปรับจ้างทำงานนอกหมู่บ้านที่อยู่อาศัยร้อยละ 30 ไม่ย้าย ร้อยละ 66 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลสิรินธรขอนแก่น 51 คน ร้อยละ 52.6 เหตุผลที่ไปรับบริการเพราะความมีชื่อเสียงร้อยละ 37 เจ้าหน้าที่โรคเรื้อนเก่า ญาติเพื่อนแนะนำ คลินิกโรคผิวหนัง การส่งต่อจากเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 60 ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่เคยไปรับบริการตรวจโรคผิวหนังในโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสุขภาพร้อยละ 84 กลุ่มตัวอย่างที่ตรวจวินิจฉัยโดยโรงพยาบาลจังหวัด 22 คน โรงพยาบาลอำเภอ 20 คน ร้อยละ 22.7 และ 20 .6 เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มนี้ ให้เหตุผลในการเลือกไปรับการตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลในสิทธิประกันสุขภาพ เพราะสะดวก ใกล้บ้าน ร้อยละ 42.4 เจ้าหน้าที่โรคเรื้อนเก่า ญาติเพื่อนแนะนำ คลินิกโรคผิวหนัง การส่งต่อจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 47.6 และค่ามัธยฐานของจำนวนครั้งที่ไปรับบริการตรวจโรคผิวหนังที่โรงพยาบาลในสิทธิประกันสุขภาพ 2 ครั้ง

จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า การตัดสินใจไปรับการตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลสิรินธรหรือโรงพยาบาลใกล้บ้านตามสิทธิประกันสุขภาพ ผู้ป่วยโรคเรื้อนจะได้รับข้อมูลจาก ครอบครัวที่เคยเป็นโรคเรื้อน เพื่อนบ้าน คลินิก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  และประสบการณ์ของประชาชนเกี่ยวกับโรคเรื้อน อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่เคยมีผู้ป่วยโรคเรื้อน และประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ความชุกสูงส่งผลการพบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่  ดังนั้น การดำเนินกิจกรรมการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ควรเร่งรัดกิจกรรมในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านหรือ สร้างระบบเฝ้าระวังในหมู่บ้านที่เคยพบผู้ป่วยโรคเรื้อน โดยแกนนำชุมชนในหมู่บ้านหรือแกนนำจากครอบครัวผู้ป่วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-24