ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคพยาธิใบไม้ตับในนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • อนันต์ อิฟติคาร Faculty of Public Health, Kasetsart University.

คำสำคัญ:

โรคพยาธิใบไม้ตับ, พฤติกรรมการป้องกันโรค, ทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 95 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับกิจกรรมการให้สุขศึกษา ประกอบด้วย การบรรยายให้ความรู้ แผ่นพับ และคู่มือการให้สุขศึกษานำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป วิเคราะห์ด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างความรู้ การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคความคาดหวังในประสิทธิภาพของการตอบสนองตนเองความคาดหวังในความสามารถของตนเองพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรคพยาธิใบไม้ตับ โดยใช้สถิติ pair sample t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
            ผลการศึกษา พบว่าภายหลังการให้สุขศึกษา มีค่าเฉลี่ยคะแนนของความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับ การรับรู้ในความรุนแรงของโรคพยาธิใบไม้ตับ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ ความคาดหวังในประสิทธิภาพของการตอบสนองตนเอง ความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการป้องกันโรค และพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ มากกว่าก่อนการให้สุขศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ซึ่งรูปแบบการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโรงเรียนอื่นๆ ได้ 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-24