คุณภาพชีวิตของผู้พิการในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ผู้พิการ, คุณภาพชีวิตผู้พิการ, ระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) โดยใช้วิธีการศึกษาแบบภาพตัดขวาง (Cross-Sectional) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตของผู้พิการ และศึกษาปัญหา ความต้องการของผู้พิการในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 257 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะส่วนบุคคลและข้อมูลตัวแปรต่างๆ และระดับคุณภาพชีวิต หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้พิการ ซึ่งในที่นี้เป็นการหาสมการที่ดีที่สุดที่อธิบายความสัมพันธ์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุลอจิสติก (Multiple logistic regressions) แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์เป็นค่า Adjusted OR และ 95%CI ของ Adjusted OR
ผลการศึกษาพบว่า ผู้พิการส่วนใหญ่เป็นเพศชายโดยมีอายุเฉลี่ย 52.5 ปี ประกอบอาชีพรับจ้าง รองลงมาคือเกษตรกรรมและอาชีพอื่นๆ เช่น ร้องเพลง ตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย(เป็นหนี้) จบชั้นประถมศึกษา และมีสถานภาพสมรสเป็นคู่ โดยมากมีลักษณะครอบครัวแบบครอบครัวเดี่ยว พิการทางการมองเห็น รองลงมาพิการซ้ำซ้อน (พิการมากกว่า 1 ประเภท) และพิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ ตามลำดับ คุณภาพชีวิตของผู้พิการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ได้แก่ เพศ อาชีพ รายได้ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรสและประเภทของความพิการ อย่างมีนัยสัมพันธ์ทางสถิติที่ 0.05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าด้านสุขภาพกาย มีสัดส่วนมากกว่าด้านอื่นๆ รองลงมาคือด้านสุขภาพจิตและด้านสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ ปัญหาและอุปสรรคของผู้พิการศึกษารายด้านพบว่า ด้านสุขภาพซึ่งผู้พิการส่วนใหญ่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ด้านการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษาและเรียนจบเพียงชั้นประถมศึกษา ด้านการเงินส่วนใหญ่เป็นหนี้ ไม่พอใช้กับความต้องการ จึงอยากให้หน่วยงานมีการสอนวิชาชีพกับผู้พิการเพิ่มมากขึ้น มีการส่งเสริมด้านโภชนาการ ด้านการบำบัดฟื้นฟูผู้พิการอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น