การพัฒนารูปแบบการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี กรณีศึกษา อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
การพัฒนา, รูปแบบ, การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบในการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนสู่การปฏิบัติในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี ในเครือข่ายผู้มีส่วนร่วมการดำเนินงานของกลุ่ม 3 กลุ่ม คือ กลุ่มภาควิชาการ ภาคประชาชนและสังคม กลุ่มภาครัฐและการเมือง ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2557 – มิถุนายน 2559 เก็บรวมรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถาม ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสังเกต การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
1.รูปแบบในการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ปัญหาสาธารณะสุขของชุมชนและจัดตั้งภาคีเครือข่ายการดำเนินงานที่เป็นทุนทางสังคมในพื้นที่ ได้ 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาควิชาการ ภาคประชาชนและสังคม ภาครัฐและการเมือง 2) การกำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุร่วมกันของชุมชน คือ ประชาชนลด ละ เลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อสุขภาพและสังคมที่ดีขึ้น และ 3)ประชาคมกำหนดและคัดเลือกมาตรการที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน คือ ลดโอกาส ลดการเข้าถึง และลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นำไปสู่การประกาศใช้และเผยแพร่ในชุมชน
- การนำรูปแบบในการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สู่การปฏิบัติ มีขั้นตอน 1)การจัดทำแผนปฏิบัติการชุมชนแบบมีส่วนร่วม 2)การสนับสนุนการดำเนินงานภาคประชาชนโดยภาคีเครือข่ายภาควิชาการ ภาครัฐและการเมือง ทั้งองค์ความรู้วิชาการ ทรัพยากร 3)ร่วมติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการชุมชน และ 4)การถอดบทเรียนการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
3) การประเมินผลการใช้รูปแบบการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าเกิดการบูรณาการทำงานร่วมกันของพลังภาคีเครือข่าย 3 ภาคส่วน พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนลดลงจากร้อยละ 41.1 เหลือร้อยละ 20.0 แนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุเมาแล้วขับ และการทะเลาะวิวาทในชุมชนลดลง มีบุคคลต้นแบบงดเหล้าตลอดพรรษา และเลิกเหล้าตลอดชีวิต ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานร้อยละ 92
ข้อเสนอแนะในการวิจัยคือ ควรขยายผลรูปแบบการพัฒนาการขับเคลื่อนไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เป็นประเด็นสาธารณะในชุมชน โดยเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และหน่วยงานภาครัฐสนับสนุนเพื่อผลประโยชน์ต่อประชาชน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น