การศึกษาระดับความเข้มแสงสว่างในห้องเรียน และลักษณะทางกายภาพของห้อง ที่มีผลต่อความรู้สึกเมื่อยล้าทางสายตาของนักเรียน กรณีศึกษา: โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
แสงสว่าง, ค่ามาตรฐาน CIE, ระดับความเข้มแสงสว่าง, โรงเรียนประถมศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเพื่อประเมินระดับความเข้มของแสงว่างในห้องเรียนโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน CIE (International Commission on Illumination) เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของห้องที่มีผลต่อความรู้สึกเมื่อยล้าทางสายตาของนักเรียน และเพื่อศึกษาความเมื่อยล้าทางสายตาของนักเรียน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ตรวจวัดความเข้มและปริมาณระดับความเข้มของแสงสว่างในห้องเรียนโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2559 จำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตร English Program และ Thai Program ทั้งหมด 3 ห้องเรียน จำนวน 121 จุด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกผลการตรวจวัดระดับความเข้มของแสงสว่างแบบจุด (Spot measurement) โดยใช้เครื่องวัดแสง (Lux Meter) และแบบสอบถามความรู้สึกเมื่อยล้าทางสายตาของนักเรียน จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน
ผลการศึกษาพบว่า ห้องเรียนหลักสูตร English Program มีจำนวนที่นั่งทั้งหมด 69 จุดผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CIE ร้อยละ 8.70 ส่วนห้องเรียนหลักสูตร Thai Program มีจำนวนที่นั่งทั้งหมด 52 จุด ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CIE
ร้อยละ 57.69 นักเรียนของห้องเรียนหลักสูตร English Program และหลักสูตร Thai Program มีความรู้สึกเมื่อยล้าทางสายตา ร้อยละ 63.08 (95%CI= 51.0-70.5) และร้อยละ 13.46 (95%CI= 3.9-23.1) ตามลำดับ
จากผลการศึกษาพบว่า ห้องเรียนหลักสูตร English Program มีระดับความเข้มแสงสว่างไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานและนักเรียนมีความรู้สึกเมื่อยล้าทางสายตาสูงกว่าห้องเรียนหลักสูตร Thai Program ดังนั้น ควรมีการเพิ่มจำนวนของหลอดไฟภายในห้องเรียน รวมถึงปรับเปลี่ยนตำแหน่งของหลอดไฟ ปรับตำแหน่งโต๊ะเรียนให้ตรงกับหลอดไฟ เปิดม่านหรือมู่ลี่หน้าต่างให้มีแสงจากธรรมชาติส่องผ่าน ซึ่งจะช่วยให้มีแสงสว่างเหมาะสมต่อการเรียนการสอนมากขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น