สมรรถนะพยาบาลในการดูแลป่วยโรคเรื้อน
คำสำคัญ:
สมรรถนะพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อนโดยใช้เทคนิคเดลฟายผู้ให้ข้อมูลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อนจำนวน 5 คน พยาบาลผู้เชี่ยวชาญในการให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อนจำนวน 11 คน นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเรื้อนจำนวน 3 คน และนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญในการฟื้นฟูความพิการในผู้ป่วยโรคเรื้อนจำนวน 1 คนวิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสอบถามผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อน เพื่อให้ได้กรอบสมรรถนะของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มีความครอบคลุมจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับสมรรถนะที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมร่วมกับการกำหนดกรอบแนวคิด นำมาสร้างแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของข้อรายการสมรรถนะในแต่ละด้านที่เกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อน ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่ามัธยฐาน และหาค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามส่งให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นอีกครั้ง นำข้อมูลมาวิเคราะห์คำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ เพื่อสรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อน ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้
- สมรรถนะด้านการคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ ประกอบด้วย 4 รายการสมรรถนะย่อย
- สมรรถนะด้านการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่นำไปสู่การเกิดความพิการของอวัยวะที่สำคัญในผู้ป่วยโรคเรื้อน ประกอบด้วย 10 รายการสมรรถนะย่อย
- สมรรถนะด้านการป้องกันความพิการและฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อน ประกอบด้วย 13 รายการสมรรถนะย่อย
- สมรรถนะด้านการให้คำแนะนำผู้ป่วยโรคเรื้อนและญาติเกี่ยวกับการดูแลตนเอง ประกอบด้วย 4 รายการสมรรถนะย่อย
- สมรรถนะด้านการให้คำปรึกษาและให้กำลังใจกับผู้ป่วยโรคเรื้อนและครอบครัว ประกอบด้วย 7 รายการสมรรถนะย่อย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น