ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคติดต่อของผู้ดูแลเด็ก ระหว่างรูปแบบการสอนรายบุคคลด้วยหลักการสิ่งแวดล้อมศึกษา กับรูปแบบการสอนแบบบรรยายกลุ่มใหญ่
คำสำคัญ:
การสอนแบบรายบุคคล, สิ่งแวดล้อมศึกษา, การป้องกันควบคุมโรคติดต่อบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคติดต่อของผู้ดูแลเด็กระหว่างรูปแบบการสอนแบบรายบุคคลด้วยหลักการสิ่งแวดล้อมศึกษา กับรูปแบบการสอนแบบบรรยายกลุ่มใหญ่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 2 แห่ง ที่ตั้งอยู่ใน เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นกลุ่มทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบรายบุคคลจำนวน 33 คน และกลุ่มเปรียบเทียบใช้รูปแบบการสอนแบบบรรยายกลุ่มใหญ่ จำนวน 34 คน ระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ และติดตามผล 4 สัปดาห์
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และพฤติกรรมการบริหารจัดการ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ยกเว้นพฤติกรรมการดูแลสภาพแวดล้อม (p-value = 0.064) เมื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสภาพแวดล้อมสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ยกเว้นพฤติกรรมการบริหารจัดการในระยะติดตามผลที่กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.185) จากผลการทดลองจึงสรุปว่า การจัดหลักสูตรอบรมเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนแก่ผู้ดูแลเด็กที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขมาก่อน ควรจัดให้มีการสอนแบบรายบุคคลจะเกิดผลสัมฤทธิ์มากกว่าการสอนแบบบรรยายกลุ่มใหญ่ เนื่องจากผู้ดูแลเด็กแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านคุณวุฒิ วัยวุฒิ และสติปัญญา ส่งผลให้พฤติกรรมการเรียนรู้แสดงออกมาในลักษณะที่ต่างกันตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น