การพัฒนารูปแบบการป้องกันความเสี่ยงจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพเก็บมูลฝอย บริเวณสถานที่ฝังกลบมูลฝอยเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ผู้ประกอบอาชีพเก็บมูลฝอย, การพัฒนารูปแบบ, การป้องกันความเสี่ยงบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาสถานการณ์ความเสี่ยงจากการทำงาน 2)พัฒนารูปแบบการป้องกันความเสี่ยงจากการทำงาน และ3)ศึกษาผลการใช้รูปแบบการป้องกันความเสี่ยงจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพเก็บมูลฝอย บริเวณสถานที่ฝังกลบมูลฝอยเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประชากรเป้าหมายในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ผู้ประกอบอาชีพเก็บมูลฝอย จำนวนทั้งสิ้น 150 คน และ 2)กลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับประกอบอาชีพเก็บมูลฝอย จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ 1)เครื่องมือดำเนินการพัฒนารูปแบบการป้องกันความเสี่ยง และ 2) เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ ดำเนินการศึกษา ตั้งแต่ ระหว่างเดือน เมษายน 2559– กันยายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างก่อน-หลังพัฒนารูปแบบการป้องกันความเสี่ยงจากการทำงาน ด้วยสถิติ Paired Samples t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบการได้รับความเสี่ยง จากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพเก็บมูลฝอย ก่อน-หลังพัฒนารูปแบบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.001) โดยภายหลังการพัฒนารูปแบบผู้ประกอบอาชีพเก็บมูลฝอย ได้รับความเสี่ยงจากการทำงานน้อยลงกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบ โดยรูปแบบการป้องกันความเสี่ยงจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพเก็บมูลฝอย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1)โครงสร้างรูปแบบการดูแล 2)ระบบการป้องกันความเสี่ยง 3)กระบวนการดูแลการป้องกันความเสี่ยง และ 4)การติดตามและประเมินผล สรุปได้ว่ารูปแบบการป้องกันความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้น เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้ประกอบอาชีพเก็บมูลฝอยและกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพเก็บมูลฝอย ดังนั้น ควรนำรูปแบบที่เกิดขึ้นปรับไปใช้ในและนอกพื้นที่ตามบริบท และควรมีการติดตามและประเมินผลอยู่เสมอ เพื่อเกิดความเหมาะสมตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้องต่อไป
References
2. Giusti. A review of waste management practicesand their impact on human health. J was man 2009;29:2227-39.
3. อดิศักดิ์ คงวัฒนานนท์, อดิเรก เร่งมานะวงษ์. ความเสี่ยงของผู้ประกอบอาชีพเก็บมูลฝอยบริเวณสถานที่ฝังกลบมูลฝอยเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการกระทรวงสาธารณสุข2560; 3:498-505.
4. ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่13). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
5. Dawson-saunder B, Trapp RG. Basic &Biostatistics. 2 nd ed. Norwalk, Connectient:Appleton & Lange; 1993.
6. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม กรณีปัญหามลพิษจากบ่อขยะ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อ
และสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2558.
7. Jacobson, B. Modern Organization. New York:Knefp; 1986.
8. พระมหาประกาศิต สิริเมโธ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านคลองใหม่ อาเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย; 2556.
9. พัชรี ศรีกุตา, อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพของชุมชนที่อาศัยอยู่รอบบริเวณสถานที่ฝังกลบมูลฝอย เทศบาลนครขอนแก่นจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554; 2:9-20.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น