การพัฒนาวิธีจัดส่งวัคซีนของโรงพยาบาลในจังหวัดนครนายก
คำสำคัญ:
วัคซีน, การจัดส่งวัคซีน, ลูกโซ่ความเย็นบทคัดย่อ
การขนส่งวัคซีนจากโรงพยาบาลไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)ในจังหวัดนครนายกมักพบปัญหาอุณหภูมิออกนอกช่วงที่เหมาะสม คือ 2-8 oCซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความแรงของวัคซีน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานการจัดส่งวัคซีนของโรงพยาบาลในจังหวัดนครนายก ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการดำเนินการในพื้นที่ 4 อำเภอ (เมืองนครนายก องครักษ์ บ้านนา และปากพลี) จังหวัดนครนายกระหว่างเดือนมกราคม 2556 ถึงเมษายน 2557 (16 เดือน) มีการวางแผนปฏิบัติ สังเกต และสะท้อนกลับข้อมูลในการจัดส่งวัคซีนในพื้นที่จริง เพื่อให้ได้มาตรฐานการปฏิบัติงานที่เหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า จากการจัดส่งวัคซีนตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่จัดทำขึ้นนั้น เส้นทางการจัดส่งจากโรงพยาบาลแม่ข่ายไปยัง รพ.สต. จำนวน518เส้นทางจากทั้งหมด669 เส้นทาง (ร้อยละ 77.43) สามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 2-8 oC ตลอดเส้นทาง มีเพียงร้อยละ 4.33 ที่สัมผัสอุณหภูมิต่ำกว่า 2oC ไม่มีเส้นทางใดเลยที่สัมผัสอุณหภูมิต่ำกว่า 0oCและร้อยละ18.24 สัมผัสอุณหภูมิสูงกว่า 8 oC อุณหภูมิต่ำสุดและสูงสุด คือ 0.7 oC และ 13.6 oCอุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดส่งวัคซีน คือ กล่องโฟม (30x37x35 ซม.) อุปกรณ์บันทึกและติดตามอุณหภูมิ (data logger รุ่น TRED 30-7R) แผ่นฟีเจอร์บอร์ดและซองน้ำแข็ง จำนวนและขนาดซองน้ำแข็งที่ใช้นั้นแตกต่างกันในโรงพยาบาลแต่ละแห่งโดยมีปริมาตรซองน้ำแข็งประมาณ 3,123-5,200 ซม3 ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ตลอดระยะเวลาการขนส่งประมาณ 5 ชั่วโมง โดยสรุป การจัดส่งวัคซีนตามวิธีการที่พัฒนาขึ้น สามารถควบคุมอุณหภูมิระหว่างการขนส่งส่วนใหญ่ให้อยู่ระหว่าง 2-8 oC ได้ดีขึ้นโรงพยาบาลอื่นสามารถนำมาตรฐานการปฏิบัติงานของจังหวัดนครนายกไปปรับใช้เพื่อให้เหมาะสมของบริบทของแต่ละแห่ง
References
2. ศิริรัตน์ เตชะธวัช,พอพิศ วรินทร์เสถียร, เอมอรราษฎร์จำเริญสุข, ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ. การสำรวจคุณภาพของวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็นของหน่วยสาธารณสุขของรัฐในเขตพื้นที่สาธารณสุข12เขตปี2547.วารสารควบคุมโรค2549;32(1):20-30.
3. Sooksriwong C. Bussaparoek W. Quality of coldchain storage drugs transportation and delivery toThaihospitals.JMedAssocThai2009;92(12):1681-5.
4. พิชญา นวลได้ศรี, กรกมล รุกขพันธ์, วีรศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์. การติดตามอุณหภูมิระบบลูกโซ่ความเย็นวัคซีนในคลังวัคซีนระดับอำเภอและตำบล. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 วันที่ 23-24 ธันวาคม 2554:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน; 2554.
5. ดวงจันทร์ จันทร์เมือง, ผงศ์พกา ภัณฑลักษณ์, มังกรอังสนันท์, ธีร์ธวัช รัตนวรวิเศษ, วิเชียร ชนะชัย.อุณหภูมิระบบลูกโซ่ความเย็นวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเขตนครชัยบุรินทร์. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา2555;18(3):37-45.
6. โฆษิต อร่ามโสภา, สุภารัตน์ อร่ามโสภา. การพัฒนาคุณภาพระบบลูกโซ่ความเย็นวัคซีนของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคคปอส.พุทไธสง.วารสารองค์การเภสัชกรรม 2556; 39(4): 3-13.
7. วิเชียรชนะชัย.การพัฒนาวิธีการบรรจุและขนส่งเพื่อการประกันคุณภาพวัคซีน โรงพยาบาลเทพสถิต.วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5จังหวัดนครราชสีมา 2557;20(1):5-15.
8. ลิขิต กิจขุนทด, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, อนุพันธ์สุวรรณพันธ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็นในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น2558; 22(2):63-74.
9. Nelson CM, Wibisono H, Purwanto H. Hepatitis B vaccine freezing in the Indonesian coldchain:evidence and solutions. BullWHO 2004;82:99-105.
10. Nelson C, Fores P, Mie Van Dyck A, Chavarria J,Boda E, Coca A, et al. Monitoring temperature inthe vaccine cold chain in Bolivia. Vaccine2007;25: 433-7.
11. Wirkas T, Toikilik S, Miller N, Morgan C,Clements CJ. A vaccine cold chain freezing studyin PNG highlights technology needs for hot climate countries. Vaccine 2007;25:691-7.
12. Matthias DM, Robertson J, Garrison MM,Newland S, Nelson C. Freezing temperatures in the vaccine cold chain: a systematic literature review. Vaccine 2007;25:3980-6.
13. TechathawatS,VarinsathienP,RasdjarmrearnsookA, Tharmaphornpilas P. Exposure to heat and freezing in the vaccine cold chain in Thailand.
Vaccine 2007;25:1328-33.
14. ศิริรัตน์ เตชะธวัช, บรรณาธิการ. มาตรฐานการดำเนินงานด้านการคลังและการเก็บรักษาวัคซีน.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาแห่งซาติ; 2556.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น