ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(HOSxP_PCU) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พีรภัทร ไตรคุ้มดัน Nonglak health promoting hospital,Chumpeung district health office, NakhonRatchasima Province.
  • ประจักร บัวผัน Faculty of Public Health,Khon Kaen University

คำสำคัญ:

การใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (HOSxP_PCU)

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(HOSxP_PCU) ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ทำการศึกษาคือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 346 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรสำหรับการวิเคราะห์การถดถอยพหุเพื่อทดสอบสมมติฐานของ Cohen เมื่อทราบขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมจึงได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบได้กลุ่มตัวอย่าง 117 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการหาค่าสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน เปอร์เซ็นไทล์ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอนโดยดำเนินการจัดเก็บข้อมูลระหว่างวันที่18กุมภาพันธ์ 2560ถึงวันที่ 19 มีนาคม 2560 จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยการบริหารในภาพรวมอยู่ในระดับระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.68 (S.D. = 0.50) การใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(HOSxP_PCU) อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย4.04 (S.D. = 0.52)ตำแหน่ง (นักวิชาการสาธารณสุข) มีความสัมพันธ์ระดับต่ำทางบวก(r=0.204, p-value 0.027)และปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (HOSxP_PCU ) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  จังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.657, p-value <0.001) ส่วนตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(HOSxP_PCU) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมาได้แก่ปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีและตำแหน่ง(นักวิชาการสาธารณสุข)ได้ร้อยละ 55.0โดยปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มากที่สุด คือ ด้านบุคลากร คิดเป็นร้อยละ 57.47

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555–2559. พิมพ์ครั้งแรกนนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกใน
พระบรมราชูปถัมภ์; 2555.

2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการปฏิบัติงานการจัดเก็บและจัดส่งข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุขVersion2.1(มกราคม2559)ปีงบประมาณ2559.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนเอสพีก๊อปปี้ปริ้น;2559.

3. SchermerhornR,HuntG,OsbornN. Organization Behavior. NewYork:JohnWiley&Sons;2003.

4. ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารการสาธารณสุขคณะสาธารณสุขศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

5. Cohen J. Statistical power analysis for thebehavioral science. 2nd ed. Hill Seale, N.J.;Lawrenge Erlbaum Associates; 1988.

6. นิรันดร์ ถาละคร, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ (JHCIS) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัยจังหวัดหนองคาย.วารสารวิจัยมข 2554; 16(5): 542-50.

7. วีนัส พีชวณิชย์, สมจิต วัฒนาชยากูล เบญจมาศตุลยนิติกุล. สถิติพื้นฐานสำหรับนักสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ: โฟร์พริ้นติ้ง; 2547.

8. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. รวมบทความวิจัยการวัดและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:ศรีอนันต์; 2553.

9. สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. ระเบียบ วิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์.ขอนแก่น:ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคม-ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

10. อาทิตย์ เที่ยงธรรม, ชนะพล ศรีฤาชา. ปัจจัยทางการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานด้านระบบฐานข้อมูลสุขภาพ HOSxP_PCU ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดชัยภูมิ [การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.

11. สมหมาย ชาน้อย, ชนะพล ศรีฤาชา. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยบริการปฐมภูมิ (JHCIS) ของเจ้าหน้าที่
สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2557; 7(3):129-36.

12. จารุกิตติ์ นาคคำ, ชนะพล ศรีฤาชา. ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการรายงานข้อมูล สุขภาพระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2556; 21(1): 1-13.

13. สมหมาย คำพิชิต, วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศของผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2556; 6(1): 21-9.

14. สัมพันธ์ บัณฑิตเสน, ประดิษฐ์ สารรัตน์. ปัจจัยการบริหาร และกระบวนการบริหารที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบข้อมูลข่าวสาร HCIS ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดหนองคาย. วารสารนโยบายและแผนสาธารณสุข2550; 10(1): 17-29.

15. ธีรวุฒิ กรมขุนทด, พีระศักดิ์ ศรีฤาชา. ปัจจัยทางการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับความสมบูรณ์ของรายงานข้อมูลมาตรฐาน ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสถานีอนามัย ในอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ[การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

16. อัปษร วงษ์ศิริ, ประจักร บัวผัน. การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการจัดการข้อมูลสารสนเทศของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในศูนย์สุขภาพชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2552; 17(1): 11-2.

17. กัญญวัลย์ ศรีสวัสดิ์พงษ์, ประจักร บัวผัน. การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารวิจัยมข.2554; 16(5): 563-74.

18. สุจรรยา ทั่งทอง.ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านสุขภาพ (21 แฟ้ม) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;1(3): 37–48

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-20