ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความล่าช้าในการช่วยเหลือผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ความล่าช้าในการช่วยเหลือผู้ป่วยอุบัติเหตุ ณ จุดเกิดเหตุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Analytical case-control study) มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความล้าช้าในการช่วยเหลือผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ในอำเภอเมืองบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างคือทีมปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินที่ช่วยเหลือผู้ป่วย กรณีอุบัติเหตุทางถนน (ICD10 V01-V89) ณ จุดเกิดเหตุตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 จำนวน 568 คน เป็นกลุ่มศึกษา 142คนกลุ่มควบคุม 426 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบเก็บข้อมูลโดยใช้แบบคัดลอกข้อมูลจากบัตรประวัติการรักษา (ICD10) แบบบันทึกประวัติผู้ป่วย (OPD card) และระบบรายงาน ITEMS สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติผลการวิจัย พบว่าทีมปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ช่วยเหลือผู้ป่วย กรณีอุบัติเหตุทางถนน ณ จุดเกิดเหตุในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จำนวนทั้งสิ้น 568 คน จำแนกเป็นทีมปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ช่วยเหลือผู้ป่วย กรณีอุบัติเหตุทางถนน ณ จุดเกิดเหตุเกิน 8 นาทีมีจำนวน 142 คนส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นเพศชายร้อยละ 92.96 อายุอยู่ระหว่าง 40 – 50 ปี ร้อยละ 32.92 ซึ่งไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 89.79จากการวิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยว ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความล่าช้าในการช่วยผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานเพศหญิง (OR = 2.13 ; 95 %CI = 1.10-4.13ระดับการศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (OR =2.51 ; 95 %CI = 1.55-4.08) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร (OR= 5.85 ; 95 %CI = 2.99–11.47) รถปฏิบัติการประเภทรถยนต์ (OR= 0.07 ; 95 %CI = 0.02–0.21) ระยะทางจากหน่วยไปยังจุดเกิดเหตุ ≥10 กิโลเมตร(OR= 1.20 ; 95 %CI = 4.05–23.75) และความรุนแรงระดับเร่งด่วนของผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือ (OR= 0.23 ; 95 %CI = 1.10–0.55) การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์แบบตัวแปรพาหุกับความล่าช้าในการช่วยเหลือผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร (= 4.80 , 95%CI = 2.12-10.85) และระยะทางหน่วยไปยังจุดเกิดเหตุ ≥10 กิโลเมตร ( = 1.36 , 95% CI = 1.26 -1.47) จากผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความล่าช้าในการช่วยเหลือผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ เกิดจากปัจจัยด้านบุคคลของผู้ปฏิบัติงานและปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ควรมีการถอดบทเรียนหรือทบทวนการดำเนินงานการช่วยเหลือผู้ป่วยอุบัติเหตุ ณ จุดเกิดเหตุ ในพื้นที่กรณีมีการออกช่วยเหลือล่าช้า โดยมีโรงพยาบาลพี่เลี้ยงดูแลควรมีการสุ่มประเมินเจ้าหน้าที่อาสาสมัครในแต่ละหน่วยงาน จากหน่วยงานระดับจังหวัด เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ ควรสำรวจจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยและวางแผนการเข้าถึงจุดเกิดเหตุ เพื่อการเดินทางเข้าจุดเกิดเหตุได้ทันเวลา ซึ่งอาจจะมีการจัดทำแผนที่ไว้ในหน่วยปฏิบัติการเพื่อใช้ในการศึกษาเส้นทางในพื้นที่รับผิดชอบและพื้นที่ใกล้เคียง
References
2. กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร, ฐิติ ภมรศิลปะธรรม,ลัดดา มีจันทร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ 2557; 6(1): 24-37.
3. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. รายงานสถานการณ์ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน; 2558.
4. ณัฐปาลิน นิลเป็ง, จิติมา กตัญญู, เรืองเดช วงศ์หล้า,วันทนีย์ ชวพงศ์. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2557; 6(2):21-36.
5. วิทยาชาติบัญชาชัย.ตำราประกอบการเรียนหลักสูตรเจ้าพนักงานกู้ชีพ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท;2547.
6. Schlesselman J. Case-control studies design,conduct, analysis. New York: Oxford UniversityPress;1982.
7. HsiehFY,BlochAD, LarsenDM. A simple method of sample size calculation for Linear and Logistic regression. Statist Med 1998; 17: 1623–34.
8. มัทนา ศิริโชคปรีชา, สุญาณี วรปัญญาเวทย์, ยุวดี ลีลัคนาวีระ อุเทน สุทิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี [อินเตอร์เนต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม2560]. เข้าถึงได้จาก https://www.google.co.th/search?q=work_10817_140316_115655.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น