ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุและปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • นพเก้า บัวงาม Samutprakarn Hospital
  • กาญจนา นาถะพินธุ Faculty of Public Health, Khon Kaen University

คำสำคัญ:

ความชุก, อุบัติเหตุ, ผู้สูงอายุปัจจัยที่มีผล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดอุบัติเหตุ และปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 486 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือสมาชิกชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสมุทรปราการ จำนวน 162 คน กับไม่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 324 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ำต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติอนุมาน สำหรับวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุใช้สถิติถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอค่า Odd ratio และช่วงเชื่อมั่น 95% กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05     ผลการวิจัย พบว่า ความชุกของการเกิดอุบัติเหตุ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 63.37 โดยพบความชุกในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุร้อยละ 58.64 และไม่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุร้อยละ 65.74 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุตอนกลาง (70-79 ปี) ร้อยละ 47.40 อุบัติเหตุที่พบ 3 อันดับแรก ได้แก่ การพลัดตก/หกล้ม สัมผัสถูกแรงกระแทก/ชน  และสัมผัสความร้อน/ของร้อนร้อยละ 49.18 , 26.95 และร้อยละ 25.72 ตามลำดับ ซึ่งเกิดอุบัติเหตุภายในบ้านมากที่สุดร้อยละ 54.12 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ คราวละหลายปัจจัย  พบว่า สถานภาพการเป็นสมาชิกชมรม อายุ ลักษณะบ้าน แสงสว่างภายในบ้าน ราวบันได และการมีประวัติเคยเกือบเกิดอุบัติเหตุ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) กล่าวคือ ผู้สูงอายุที่ไม่เป็นสมาชิกชมรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มากกว่าผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรม 1.73 เท่า (95%CI = 1.08 - 2.76) นอกจากนี้ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์  ร้อยละ  34.16 มีโรคประจำตัวร้อยละ 77.57  โรคที่พบ 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวานร้อยละ 77.72, 36.87 และร้อยละ 36.34 ตามลำดับและมีปัญหาเกี่ยวกับสายตาร้อยละ 83.95 และการเคลื่อนไหวร้อยละ 61.93

References

1. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง. ฉบับที่ 6. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2556.

2. ธนวรรษน์ สำกำปัง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ ตำบลขามป้อม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2553; 18(1):61-9.

3. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์].2557 [เข้าถึงเมื่อ 10กรกฎาคม 2559] เข้าถึงได้จาก https://thaincd.com/document/fle/violence/8.pdf.

4. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา;2552.

5. วรชาติ พรรณะ. สภาพแวดล้อมของที่พักอาศัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุแยกตามกลุ่มอายุในเขตพื้นที่ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม2556;11(1):86-91.

6. เปรมกมล ขวนขวาย. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน [วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

7. สุปราณี ยมพุก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุในบ้านของผู้สูงอายุ จังหวัดราชบุรี[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล;
2540.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-20