บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
บรรยากาศองศ์การ, การดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ศึกษาคือผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 210 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ โดยการจับสลากแบบไม่ใส่คืนได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 109 คน และสนทนากลุ่มจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแนวทางการสนทนากลุ่ม ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อมีค่า IOC มากกว่า 0.5 ทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่าง 30 คนในจังหวัดหนองคาย วิเคราะห์หาความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.98 ดำเนินการเก็บข้อมูลในระหว่างวันที่ 21มีนาคม 2560 ถึงวันที่ 21 เมษายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการหาค่าสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอนผลการศึกษาพบว่า ระดับการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.95 (S.D. = 0.53) ส่วนระดับบรรยากาศองค์การในภาพรวมกลุ่มอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.01 (S.D. = 0.45)ภาพรวมบรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.699, p-value < 0.001)ตัวแปรบรรยากาศองค์การมิติความรับผิดชอบ มิติความขัดแย้ง มิติความเสี่ยง ทั้ง 3 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์การดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานีได้ร้อยละ50.4 จากผลการศึกษานี้ ในการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ ควรมีการกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบงานที่เหมาะสมกับภาระงาน มีความสามารถในการจัดการปัญหาความขัดแย้งได้ดี รวมทั้งการจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับภาระงาน จะทำให้การดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดอุดรธานี ประสบผลสำเร็จได้
References
2. กระทรวงสาธารณสุข. ตัวชี้วัดระดับการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอที่เชื่อมโยงระบบบริการปฐมภูมิกับชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพ. นนทบุรี: กระทรวง
สาธารณสุข; 2558.
3. พยุดา ชาเวียง. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.
4. Litwin GH, Stringer RA. Motivation andorganization climate. Boston: Division of Research;1968.
5. ประเสริฐ สุภภูมิ, วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเสนอผลงานระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2557; 23 มกราคม 2557; บุรีรัมย์:มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์; 2557.
6. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงาน ระดับกระทรวง รอบที่ 2/2559. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี; 2559.
7. Cohen J. Statistical power analysis for the behavioralsciences. 2nd ed. New Jersey: Lawrence ErlbaumAssociates;1988.
8. สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.
9. สุรชัย พิมหา, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารในการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2558; 15(3):79-88.
10. สมดี โคตรตาแสง, ชนะพล ศรีฤาชา. กระบวนการบริหารที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2558; 7(3): 137-45.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น