พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ในพื้นที่ต้นน้ำเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
พฤติกรรมเสี่ยง, ความเสี่ยง, ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเสี่ยง, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกรบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสี่ยง ความเสี่ยง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศตรูพืชของเกษตรกรในพื้นที่ต้นน้ำลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ ในระหว่างวันที่ 1 มกราคมถึง 31 สิงหาคม 2560 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน ได้จากการคำนวณขนาดตัวอย่าง เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบประเมินความเสี่ยงเกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ปัจจัยเสี่ยงวิเคราะห์ค่า OR และช่วงเชื่อมั่น 95 % CI ของ OR วิเคราะห์Multiple Logistic Regressionข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์เชิงลึก นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารกำจัดวัชพืช ใช้ในปริมาณมาก และสวมชุดป้องกันตนเองไม่เหมาะสม และการสัมผัสนาน ความเสี่ยงมี 4 ระดับ มากที่สุดคือ ความเสี่ยงปานกลาง รองลงมาคือ ความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงค่อนข้างสูง และความเสี่ยงสูง คิดเป็นร้อยละ 34.3, 30.0, 20.3และ15.4 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงมี 3 ปัจจัยคือ 1) ประเภทพืชที่ปลูก เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกพืชอย่างอื่น ปลูกสับปะรดกับพืชอย่างอื่นเสี่ยงมาก15.36 เท่า (95%CI: 1.70-138.43, P-value = 0.015) ปลูกมันสำปะหลังอย่างเดียวเสี่ยงมาก2.81 เท่า (95%CI: 1.11-7.07, P-value=0.029) และการปลูกมันสำปะหลังกับพืชอย่างอื่นเสี่ยงมาก5.77 เท่า (95%CI: 2.203-16.36, P-value = 0.015) 2)ระยะเวลา การปลูก26 ปีขึ้นไปจะเสี่ยง 7.61 เท่าของคนที่ปลูก 1-5 ปี (95%CI: 2.62-22.08, P-value < 0.001)และ 3) ลักษณะการใช้สารเคมี การเพาะปลูก (รับจ้าง) เสี่ยงมาก 2.36 เท่าของคนที่ไม่เพาะปลูก (รับจ้าง)(95%CI: 1.24-4.48, P-value = 0.008) ผู้ช่วยฉีดพ่นเสี่ยงมาก 3.19 เท่าของคนที่ไม่ช่วยเป็นผู้ช่วยฉีดพ่น (95%CI: 1.38-7.34, P-value = 0.006)
References
2. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. [ออนไลน์].2560 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www.envocc.ddc.moph.go.th
3. National Reseach Council. Toxicity Teasting:Strategies to Determine Needs and Priorities.Washington DC: National Academy Press;1984.
4. ไทยแพน.วัตถุอันตรายที่มีการนำเข้า10อันดับแรก.รายงานสรุปการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรปี 2558.[ออนไลน์].2559 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaipan.org.
5. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค. คู่มือการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข คลินิกสุขภาพเกษตรกร. พิมพ์ครั้งที่3: กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.
6. Colemont A, S.Van den Broucke. Psychologicaldeterminants of behaviors leading to occupational injuries and diseases in agriculture: A
literature overview. J Agric Sat Health 2006; 12:227-8.
7. เอกพล กาละดี, เจตนิพิฐ สมมาตย์. พฤติกรรมการใช้สารเคมีศัตรูพืช และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวตำบลท่าหินโงม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ; 2558.
8. ข้อมูลสัมภาษณ์เกษตรกร. การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกระบวนการเพาะปลูก พื้นที่ต้นน้ำลำปะทาวจังหวัดชัยภูมิ สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 31พฤษภาคม 2560.
9. Buppha Raksanam, SurasakTaneepanichskul,WattasitSiriwong, Mark G Robson. Factorsassociated with pesticide risk behaviors among rice
farmersinruralcommunity,Thailand.EnviroEarthSci 2012; 2( 2): 32-9.
10. Paganelli A, V Gnazzo, H. Acosta, S. L. López,A E. Carrasco. Glyphosate based herbicidesproduce teratogenic effects on vertebrates byimpairing retinoic acid signaling. Chem Res inToxicol.[Online]. 2010 [Cited 1 October 2017].Availabe from http//www.pubs.acs.org.
11. Praneet vatakul S, Schreinemachers P, Tipraqra P.Pesticides external costs and policy options for Thai agriculture. Environ Sci Policy. [Online].2013. [Cited 5 September 2017]. Availabe from http//www.thefghtside.com.
12. United States Environmental Protection Agency.What is a pesticide. [Online].[Cite 8 September2017]. Availabe from http://www.epa.gov/
pesticides/about/index.htm.
13. ไทยพับลิกา. กระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบ 3 สารเคมีเกษตรควร “แบน” อันตรายต่อแม่และเด็กปนเปื้อนแหล่งน้ำ-กรมวิชาการเกษตรชี้ขอนำเรื่องนี้เข้าคณะกรรมการวัตถุอันตราย. [ออนไลน์]. 2560[เข้าถึงเมื่อ10 พฤศจิกายน 2560. เข้าถึงได้จากhttps://thaipublica.org.
14. สาคร ศรีมุข. ผลกระทบจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทย. [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2560. เข้าถึงได้จาก: http://www.library.senate.go.th.
15. Séralini G E, E. Clair R, Mesnage S. Gress, NN. Defarge, M. Malatesta D, et al. de Vendômois.Long term toxicity of a Roundup herbicide and a Roundup-Tolerantgenetically modifed maize.food Chem Toxicol 2012; 50(11): 4221-31.
16. Folmar LC, HO Sanders, AM Julin. Toxicity of theherbicide glyphosate and several of its formulationsto fsh and aquatic invertebrates. Environ Toxico 1979; 8(3): 269-98.
17. ชัชวาลย์ บุญเรือง, วรรณวิมล แพ่งประสิทธิ์สรรสนีย์ บุญเรือง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับโคลีนเอสเตอเรสในกระแสโลหิตของเกษตรกร อำเภอปง จังหวัดพะเยา. รายงานการวิจัย. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา; 2538.
18. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ.การประเมินความเสี่ยงความเป็นพิษของสารเคมีต่อสุขภาพมนุษย์ [ออนไลน์].2560 [เข้าถึงเมื่อ 12พฤศจิกายน 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://wwwdpm.co.th.
19. ศิมาลักษณ์ ดิถีสวัสดิ์เวทย์, พิไลลักษณ์ พลพิลา,พิเชษฐ โฉมเฉลา, จรรยารักษ์ เยทส์, โสภาพรรณจิรนิรัติศัย, ฟาอีซะ โตะโยะและคณะ. การพัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัยในหน่วยบริการปฐมภูมิสำหรับแรงงานนอกระบบ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น. 2556; 20(2): 79-92.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น