ชนิดและปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศ แผนกผู้ป่วยนอก ของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ก้องนภา อุทังสังข์ Sunpasitthiprasong hospital
  • กาญจนา นาถะพินธุ Faculty of Public Health, Khon Kaen University

คำสำคัญ:

เชื้อจุลินทรีย์, แผนกผู้ป่วยนอก, อากาศภายในอาคาร

บทคัดย่อ

การศึกษาชนิดและปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศ ทำการเก็บตัวอย่างในแผนกผู้ป่วยนอก   6   แผนก  ของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ แบบภาคตัดขวาง ด้วยเครื่องมือ Biostage single-impactors   ในช่วง เดือนธันวาคม 2559 ถึง เดือนกุมภาพันธ์  2560  (เก็บเดือนละ 3 ครั้ง)  จำนวน 432 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบเชื้อแบคทีเรีย ทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ Bacillus spp., Diphtheroids spp., Coagulase-negative Staphylococcus, Micrococcus spp. และ  Acinetobacter spp. เชื้อแบคทีเรียที่พบมากที่สุด  คือเชื้อ Bacillus spp  พบร้อยละ 47.88 (279 CFU/m3)พบเชื้อราทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ Aspergillus spp., Fusarium spp.,  Penicillium spp และ Rhizopus spp.   เชื้อราที่พบมากที่สุด คือ เชื้อ Aspergillus spp.  พบร้อยละ 57.07 (230 CFU/m3) และพบว่าค่าเฉลี่ยปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศช่วงเช้า มีค่า 1012 CFU/m3 (±439) โดยพบปริมาณมากที่สุด 1803 CFU/m3  ในเดือนธันวาคม ที่แผนกอายุรกรรม  ในและปริมาณน้อยที่สุด 545 CFU/m3  ในเดือนกุมภาพันธ์  ที่แผนกโรคติดเชื้อ และค่าเฉลี่ยปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศช่วงบ่าย 960 CFU/m3    (±481)  โดยพบปริมาณมากที่สุด 1957  CFU/m3 ในเดือนธันวาคม   ที่แผนกอายุรกรรม  และปริมาณน้อยที่สุด  497 CFU/m3  ในเดือนมกราคม  ที่แผนกโรคติดเชื้อและเมื่อเทียบกับค่าแนะนำคุณภาพอากาศในอาคารและสถานที่สาธารณะเฉลี่ยที่ 8 ชั่วโมงโดย Indoor Air Quality Management Group ของ Hong Kong Special Administrative Region โดยในเดือนธันวาคม 2559 มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2560 คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี

References

1. วุฒิไกร กันทะสอน. การศึกษาคุณภาพอากาศภายในอาคารโรงพยาบาลพญาไทศรีราชา [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2556.

2. ศิริพร ศรีเทวิณ, กาญจนา นาถะพินธุ. เชื้อจุลินทรีย์ในบรรยากาศในโรงพยาบาลขนาดที่แตกต่างกัน.วารสารวิจัย มข. 2555; 12(1): 92–101.

3. สำนักงานนิเทศและประชาสัมพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในไทย[ออนไลน์].2556[เข้าถึงเมื่อ13พฤษภาคม2016].เข้าถึงได้จาก https://narst.dmsc.moph.go.th/news001.html

4. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.). เชื้อดื้อยาภัยเงียบคุกคามโลก [ออนไลน์].2558 [เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม 2016]. เข้าถึงได้จากhttps://www.thaihealth.or.th/Content/29021-เชื้อดื้อยาภัยเงียบคุกคามโลก.html

5. เด่นชัย กวยทอง, กาญจนา นาถะพินธุ. จุลินทรีย์ในอากาศภายในห้องทันตกรรมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.
วารสารวิจัย มข. 2559;16(3):81-91.

6. ประนอมพรรณ มหาพล, กาญจนา นาถะพินธุ. การปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในห้อง ICU ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในนครหลวงเวียงจันทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-19