การประเมินประสิทธิภาพการพ่นสารเคมีควบคุมยุงลายขององค์กรปกครองท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • กองแก้ว ยะอูป The Office of Diseases Prevention and Control 7 Khon Kaen
  • วาสนา สอนเพ็ง The Office of Diseases Prevention and Control 7 Khon Kaen
  • บุญเทียน อาสารินทร์ The Office of Diseases Prevention and Control 7 Khon Kaen

คำสำคัญ:

การประเมินผล, ประสิทธิภาพ, การพ่นสารเคมีควบคุมยุงลายง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลการพ่นสารเคมีควบคุมยุงลายจำแนกตามคนที่พ่น  เครื่องพ่นเคมี  และสารเคมีที่ใช้พ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 9 จังหวัด ทำการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการจับฉลากได้จังหวัด หนองคาย มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งหมด 67 แห่ง คำนวณตัวอย่างได้ 35 แห่งทำการประเมินประสิทธิภาพคนพ่นโดยการสัมภาษณ์ ให้อธิบาย สาธิตการเตรียมสารเคมีการพ่นการพ่นเคมี ตั้งแต่วิธีการผสมสารเคมีจนถึงการสตาร์ทเครื่องพ่นแสดงวิธีการพ่นสังเกตทักษะท่าทางขณะดำเนินการสาธิตแล้วบันทึกผล ประเมินประสิทธิภาพเครื่องพ่นที่มีอยู่และสามารถใช้งานได้โดยวัดความร้อนปลายท่อ อัตราการไหลของน้ำยาเคมี และขนาดละอองน้ำยาเคมีเฉลี่ย(VMD) และสุ่มเก็บสารเคมีที่ใช้พ่นควบคุมยุงตัวเต็มวัยในพื้นที่มาทดสอบประสิทธิภาพโดยวิธี Bio assay test  ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก สถิติที่ใช้คือร้อยละผลการศึกษาดำเนินการเก็บข้อมูล อปท. ทั้งหมด 42 แห่ง โดยประเมินคนพ่นพบว่า คนพ่นสารเคมีทั้งหมดเป็นชายมีตำแหน่งเป็นลูกจ้างรายปีคิดเป็นร้อยละ 69.00 และยังไม่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องพ่นและสารเคมี (71.43) ทักษะในการเตรียมตัวและวัสดุอุปกรณ์ เทคนิคในการผสมสารเคมี การคำนวณอัตราส่วนผสมสารเคมีก่อนพ่น (95.20) การสตาร์ทเครื่องพ่น การสาธิตท่าพ่นเคมี และถูกต้องตามลำดับขั้นตอนการพ่น(88.10) การเลือกใช้ภาชนะในการผสมสารเคมีส่วนมากใช้แกลลอนน้ำมัน (78.60) การใช้กรวยกรองขณะเติมน้ำยาเคมีที่ผสมเสร็จลงในถังสารเคมี(81.00)การป้องกันตนเองสวมใส่ชุดป้องกันตนเองขณะพ่น (85.70)ประเมินประสิทธิภาพเครื่องพ่นสารเคมีที่ใช้ทั้งหมดจำนวน 79 เครื่อง พบว่าเครื่องพ่นที่ใช้มากที่สุดคือ หมอกควันร้อยละ 100 ยี่ห้อที่ใช้มีการที่สุดคือ Igeba รองลงมาคือ Bestfoger และ Swing fog ร้อยละ 63.30,20.20 และ 16.50 ตามลำดับ ตรวจวัดอุณหภูมิความร้อนปลายท่ออัตราการไหลของสารเคมีและขนาดเฉลี่ยของละอองน้ำยา (VMD) ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 79.75, 60.76และ60.76ตามลำดับ ประเมินประสิทธิภาพสารเคมีที่ใช้ในพื้นที่จำนวน 12 แห่ง (12 ยี่ห้อ) พบว่าสารเคมีที่ใช้เป็นสารกลุ่มไพรีทอยด์สังเคราะห์แยกตามชนิดของสารที่ออกฤทธิ์ได้ 3 ชนิดคือ เดลต้าเมทริน 6 ยี่ห้อ ไซเปอร์เมทริน 5 ยี่ห้อ และไซฟลูทริน1 ยี่ห้อ ทดสอบประสิทธิภาพการโดยผสมสารเคมีในอัตราส่วนที่ระบุตามฉลากพบว่าสารเคมีทุกตัวมีประสิทธิภาพกำจัดยุงอยู่ในระดับสูง โดยยุงมีอัตราตายร้อยละ 98.00-100.00 จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า คนพ่นส่วนมากเป็นลูกจ้างรายปีและยังไม่เคยได้รับ/ผ่านการอบรมเกี่ยวกับเรื่องการใช้สารเคมี เทคนิคการพ่น และการซ่อมเครื่องพ่นเบื้องต้นจากหน่วยงานของกรมควบคุมโรคทำให้ขาดทักษะ การใช้ การผสมสารเคมี และวิธีการพ่นที่ถูกต้อง ส่วนเครื่องพ่นเคมีที่ใช้งานส่วนมากผ่านเกณฑ์มาตรฐานอุณหภูมิความร้อนปลายท่อ อัตราการไหลสารเคมี และขนาดละอองเม็ดน้ำยาร้อยละ 60.90สารเคมีที่ใช้หากผสมในอัตราส่วนที่ฉลากระบุและใช้อย่างถูกวิธียังสามารถใช้ควบคุมยุงในพื้นที่ได้ คนพ่นและเครื่องพ่นไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 29.1อาจทำให้การควบคุมโรคไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรส่งผลทำให้ยุงไม่ตายและดื้อต่อสารเคมีหลายชนิดที่ใช้ ดังนั้นควรมีนโยบายหรือมาตรการสำหรับคนที่ทำหน้าที่พ่นควรผ่านการอบรมจากหน่วยงานของกรมควบคุมโรคเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะ เกี่ยวกับเครื่องพ่นและสารเคมีเพื่อให้สามารถดำเนินงานควบคุมยุงพาหะโรคที่มีประสิทธิภาพ และนำเครื่องพ่นที่ใช้งานไปประเมินมาตรฐานและปรับแก้เพื่อให้เครื่องได้มาตรฐานจากหน่วยงานกรมควบคุมโรคจะช่วยให้การดำเนินการพ่นควบคุมยุงลายพาหะนำโรคมีประสิทธิภาพและชะลอการดื้อยาของยุงต่อสารเคมีได้อีกด้วย

References

1. สีวิกา แสงธาราทิพย์. ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก. ใน: สีวิกา แสงธาราทิพย์, บรรณาธิการ.โรคไข้เลือดออกฉบับประเกียรณก. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก; 2544.

2. อุษาวดี ถาวระ. ยุงลายพาหะโรคไข้เลือดออก. ใน:อุษาวดีถาวระ,บรรณาธิการ.ชีววิทยานิเวศวิทยาและการควบคุมยุงในประเทศไทย. นนทบุรี: บริษัทดีไซร์จำกัด; 2544.

3. กองมาลาเรีย กรมควบคุมโรคติดต่อ. สารเคมีและชีวอินทรีย์ในการควบคุมพาหะนำโรค. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.มปป.

4. กองแก้ว ยะอูป, สมบูรณ์ เถาพันธ์, ปานแก้วรัตนศิลป์กัลชาญ, ลักษณา หลายทวีวัฒน์.การทดสอบความไวของยุงลายต่อสารเพอร์มิทรินและเดลตามินทริน ใน 14 จังหวัดภาคตะวันออก-
เฉียงเหนือ. วารสารมาลาเรีย 2545;37(3):125-31.

5. ลักษณา หลายทวีวัฒน์, กองแก้ว ยะอูป, สมบูรณ์ เถาว์พันธ์, บุญเทียน อาสารินทร์, เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์. ความไวต่อสารเคมีกำจัดแมลงของยุงลายบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ปี 2547. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2548; 12(1): 50-7.

6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2540.11ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 114. ตอนที่ 557.

7. พระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล (2537.2 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา.เล่มที่ 111. ตอนที่ 53 ก.

8. คณัจฉรีย์ ธานิสพงศ์, บุญเสริม อ่วมอ่อง, มานิตย์นาคสุวรรณ, ปิติ มงคลางกูร. ปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดแมลงทางสาธารณสุขในประเทศไทย.กองมาลาเรีย กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข; 2543.

9. บุญเทียน อาสารินทร์, ชุติมา วัชรกุล, สำอาง เชื้อกุล.การสำรวจการใช้สารเคมีกำจัดแมลงพาหะนำโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยคู่สัญญาบริการระดับปฐมภูมิ (CUP) ในพื้นที่สาธารณสุขเขต 6 ปี 2547. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2548; 12(3): 1-10.

10. บงกช หงษ์คำมี, ชาญชัยณรงค์ ทรงคาศรี. โครงการประเมินมาตรการการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่เขตรับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6ขอนแก่น 2547; 12(1) : 176-86.

11. Pan American Health Organization; World Health Organization. Dengue and dengue Haemorrhagic Fever in the Americas : Guideline for Prevention and Control ; Scientifc Publication No.548.

12. บุญเทียน อาสารินทร์, กองแก้ว ยะอูป. ประสิทธิภาพของสารเคมีกำจัดยุงลายโดยวิธีพ่นหมอกควันและฝอยละเอียดด้วยเครื่องพ่นขนาดเล็ก. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2549;13(2): 108-15.

13. Lemeshow S, Hosmer DW, Klar J. Adequacy of sample size in health studies. Newyork:John Wiley& Sons ;1990

14. World Health Organization. Instruction fordetermining the susceptibility or resistance of adult mosquito to organochlorine, organophosphate and
carbamate insecticides establishment of the baseline. WHO/VBC/; 1981.

15. Somboon P, Prapanthadara LA, Ranson H,Hemingway J. Cloning, expression and characterization of an insect class I glutathioneS-transferases from Anopheles dirus species B.Insect Biochem Mol Biol 2004; 28: 321–9.

16. Ponlawat A, Scott J, Harrington LC. Insecticidesusceptibility of Aedes aegypti and Aedes albopictus across Thailand. J Med Entomol 2005; 42:821-5.

17. Paeporn P, Supaphathom K, Srisawat R, Komalamisra N, Deesin V, Ya-umphan P, et al. Biochemical detection of pyrethroid resistancemechanism in Aedes aegypti in Ratchaburiprovince, Thailand. Trop Biomed 2004; 21(2):145-51.

18. บุญเทียน อาสารินทร์, บุญส่ง กุลโฮง, พรทวีวัฒน์ศูนย์จันทร์, ธงชัย เหลาสา. การประเมินมาตรฐานเครื่องพ่นหมอกควันของเครือข่ายในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น. วารสารควบคุมโรค 2558;41(1):50-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-19