การดำเนินงานตามนโยบายจัดบริการคลินิกสุขภาพเกษตรกรในระยะเริ่มต้นของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ปี 2556

ผู้แต่ง

  • เมตตา คำอินทร์ Office of Disease Prevention and Control,1 Chiang Mai
  • ชาญณรงค์ ชัยสุวรรณ Office of Disease Prevention and Control,1 Chiang Mai

คำสำคัญ:

คลินิกสุขภาพเกษตรกร, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

ในปี 2556 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ ได้นำนโยบำยจัดบริการคลินิกสุขภำพเกษตรกรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สู่การปฏิบัติในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือทำให้ทราบความก้าวหน้าในการจัดบริการคลินิกสุขภาพเกษตรกรของรพ.สต. และเพื่อทราบปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานคลินิกสุขภาพเกษตรกรของ รพ.สต. กำรศึกษำนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมำณและเชิงคุณภาพ (Mixed method) กลุ่มตัวอย่ำงได้แก่ รพ.สต. 8 แห่ง ซึ่งเลือกให้เป็นพื้นที่ศึกษาโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดละ 1 แห่ง ดำเนินการระหว่างพฤษภาคม - มิถุนายน 2556 เครื่องมือที่ใช้ในกำรเก็บข้อมูล ได้แก่แบบประเมินมาตรฐานการดำเนินงานคลินิกสุขภาพเกษตรกรของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกการสังเกต วิเครำะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนำ (Descriptive analysis) การวิเครำะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเครำะห์เนื้อหา (Content Analysis) จำกแบบสัมภำษณ์ผลการศึกษา พบว่ำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภำพตำบลทั้ง 8 แห่ง ยังไม่สำมำรถดำเนินกิจกรรมกำรจัดบริการคลินิกสุขภาพเกษตรกรตามมาตรฐานระดับเริ่มต้นได้ครบทั้ง 6 กิจกรรมโดยพบว่ำกิจกรรมที่ดำเนินงำนได้มากที่สุดได้แก่ การคัดกรองสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานร้อยละ75 การายงานผลการดำเนินงานร้อยละ 75 และกิจกรรมกำรประเมินความสี่ยงในการทำงานของเกษตรกร/แรงงานในชุมชน ร้อยละ 37.50 ส่วนกิจกรรมที่ยังไม่มี รพ.สต.ใดสามารถดำเนินงานได้เลย ได้แก่การเปิดคิลินิกบริการสุขภาพเกษตรกร 1 วันต่อสัปดำห์ การจัดให้มีระบบข้อมูลกลุ่มผู้ประกอบอาชีพในฐานข้อมูลของ รพ.สต. และการจัดกิจกรรมป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพแก่ผู้ประกอบอาชีพอุปสรรคของกำรดำเนินงำน ได้แก่นโยบายที่ไม่ชัดเจน การส่งอุปกรณ์และสื่อให้พื้นที่ล่าช้า การขาดการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณ และการนิเทศติดตามบุคลากรที่ไม่เพียงพอตลอดจนไม่ได้รับการฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับโรคจากการทำงาน และประชาชนในพื้นที่ไม่ตระหนักในการป้องกันดูแลสุขภาพตนเอง การดำเนินงานที่ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายอาจเกิดจากการถ่ายทอดนโยบายจากส่วนกลางลงสู่ระดับเขตและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดล่าช้า ความไม่ชัเจนในแนวทางการจัดบริการที่มีเพียงหนังสือสั่งการแต่ไม่มีรายละเอียดของแนวทางการจัดบริการคลินิกสุขภาพเกษตรกร และการขาดการศึกษาถึงความพร้อมของ รพ.สต. ก่อนสั่งการให้มีการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติข้อเสนอแนะ ควรมีการประเมินความพร้อมของหน่วยงานผู้รับนโยบายก่อนสั่งการ ควรมีกำรชี้แจงถ่ำยทอดนโยบำยให้แก่สำนักงำนสำธำรณสุขจังหวัดในภำพรวมระดับประเทศ ในระยะเริ่มต้นของกำรดำเนินกำรควรมีกำรนิเทศติดตาม และให้การสนับสนุนทางวิชาการแก่หน่วยงานที่รับนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรค ให้ข้อแนะนำ และหาแนวทางในการปรับปรุงวิธีดำเนินการเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ สำหรับรูปแบบของคลินิกสุขภาพเกษตรกรควรปรับให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ได้ กำรดำเนินงานระยะแรกควรมุ่งเน้นในด้ำนคุณภาพของบริการคลินิกสุขภาพเกษตรกร และเน้นการพัฒนาศักยภาพของ รพ.สต. ให้สามารถจัดบริการเพื่อตอบสนองต่อปัญหาเเฉพาะของพื้นที่ อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนในการดำเนินงาน

References

1. สำนักโรคจำกกำรประกอบอำชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค. คู่มือกำรจัดบริกำรอำชีวอนามัย สำหรับเจ้ำหน้ำที่สำธำรณสุข:คลินิกสุขภำพเกษตรกร.พิมพ์ครั้งที่ 2 พฤษภำคม 2557. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์กำรเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2557.

2. บุญเลิศ ศักดิ์ชัยนำนนท์, โสภำพรรณ จิรนิรัติศัย.กำรพัฒนำกำรจัดบริกำรอำชีวอนำมัยในสถำนีอนำมัย สำหรับแรงงำนนอกระบบ. วำรสำรกรมควบคุมโรค 2554; 37(1): 1-8.

3. ศิมำลักษณ์ ดิถีสวัสดิ์เวทย์, พิไลลักษณ์ พลพิลำ,พิเชษฐ์ โฉมเฉลำ, จรรยำลักษณ์ เยทส์, โสภำพรรณจิรนิรัติศัย, ฟำอิซะต๊ะโย๊ะ. กำรพัฒนำกำรจัดบริกำรอำชีวอนำมัยในหน่วยบริกำรปฐมภูมิสำหรับแรงงานนอกระบบ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2556; 20(2): 79-92.

4. พรทิพย์ ใจเพชร, ถวิล หนูวงศ์, สุรชำติ โกยดุลย์,รุจธเนศ เรืองพุทธ. การกำหนดนโยบำยอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน สู่กำรปฏิบัติในพื้นที่ 7จังหวัดภำคใต้ตอนบนของประเทศไทย ปีงบประมำณ 2555. วำรสำรกรมควบคุมโรค 2556;39(2): 155-66.

5. รัฐกร กลิ่นอุบล. ปัจจัยที่มีผลต่อควความสำเร็จเร็จในการนำนโยบำยกำรบริหำรกิจกกิจดารบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ: กรณีศึกษำองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคกลำง [วิทยานิพนธ์ปริญญำรัฐประศำสนศำสตรมหำบั ณ ฑิ ต ] . กรุงเทพมหานคร :มหาวัทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2551.

6. สันติ ทวยมีฤทธิ์, ปฐม มณีโรจน์, ภัทรียำ สุมะโน,จำรุรัตน์ แหยงกระโทก. การกำหนดนโยบำยสำธำรณะด้านสุขภาพไปปฏิบัติจากการกระจายอำนาจด้านสุขภาพไปสู่องค์ดารบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย. วารสารการวิจัยทางธุรกิจและการบริหาร 2556;1(1): 1-20.

7. ยอร์น จิระนคร,ทัศนีย์ พงศ์ไพบูลย์. การประเมินผลการนำนโยบายมาตรการควบคุมโรคชิคุนกุนย่าสู่การปฏิบัติในชุมชน กรณีศึกษำ: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสงขลา วารสารกรมควบคุมโรค 2556; 39(4): 334-44.

8. นภัค ด้วงจุมพล. สถานการณ์ระบบการให้บริการอาชีวอนามัยในหน่วยบริการปฐมภูมิของจังหวัดนครราชสีมา [วิทยำนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต ] . ก รุ ง เ ท พ มหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2555.

9. กระทรวงสำธำรณสุข. คู่มือกำรให้บริกำรของโรงพยำบำลส่งเสริมสุขภาพตำบลบล: พิมพ์ครั้งที่ 1กันยำยน 2552. กรุงเทพมหำนคร:โรงพิมพ์ บรัทที คิว พี จำกัด; 2552.

10. ฐิติวรดำ อัครภำนุวัฒน์. ปัจจัยที่มีผลต่อกำรพัฒนำระบบริกำรในโรงพยำบำลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดแม่ฮ่องสอน [วิทยำนิพนธ์ปริญญำสำธำรณสุขศำสตรมหำบัณฑิต]. นนทบุรี: มหำวิทยำลัยสุโขทัยธรรมำธิรำช; 2555.

11. เศกสันติ ชำนมณีรัตน์. กำรประเมินความรู้ความคิดเห็นและผลการดเนินงานตามนโยบายโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลของหัวหน้าสถานีอนามัยในเขตตรวจรำชกำรสำธำรณสุขเขตที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี:มหำวิทยำลัยสุโขทัยธรรมำธิรำช; 2554.

12. กล้ำ ทองขำว.กำรวิเครำะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบำยสาธารณะไปปฏิบัติ: กรณีศึกษานโยบำยเพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ [วิทยานิพนธ์ปริญญำพัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยำลัยบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2534.

13. วัชรินทร์ สุทธิศัย, ไชยา ยิ้มวิไล, วรเดช จันทรศร.ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารช่อพยอม 2555; 3(1): 51-65.

14. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่1 เชียงใหม่. รายงานสรุปผลการพัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับแรงงานในชุมชน (กลุ่มอำชีพเกษตรกรรม); 2559.(เอกสารอัดสำเนา).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-15