ผลของโปรแกรมการสร้างการรับรู้ต่อการป้องกันวัณโรคปอด ของผู้สัมผัสร่วมบ้าน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • วีระวุธ แก่นจันทร์ใบ Faculty of Public Health, Mahasarakham University
  • สุมัทนา กลางคาร Faculty of Public Health, Mahasarakham University
  • สรญา แก้วพิทูลย์ Institute of Medicine, Suranaree University of Technology

คำสำคัญ:

วัณโรคปอด, ผู้สัมผัสร่วมบ้าน, การป้องกันโรควัณโรคปอด, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันอุบัติการณ์ของวัณโรคปอดเพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทยและทั่วโลก พบว่ามีการแพร่เชื้อระหว่างบุคคลและผู้สัมผัสร่วมบ้านอย่างต่อเนื่อง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างการรับรู้ต่อการป้องกันวัณโรคปอดของผู้สัมผัสร่วมบ้าน ด้านความรู้ การรับรู้ แรงสนับสนุนทางสังคมและการป้องกันวัณโรคปอด ในพื้นที่อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ระหว่างเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม 2559กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคปอด จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละเท่ากัน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างการรับรู้ต่อการป้องกันวัณโรคปอด 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรม 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย
ใช้สถิติ Paired t-test, Independent t-test และ Repeated measurementผลการวิจัย พบว่าความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอดกลุ่มทดลอง พบว่าไม่แตกต่างกัน การรับรู้ต่อการป้องกันวัณโรคปอดของผู้สัมผัสร่วมบ้าน แรงสนับสนุนทางสังคมเกี่ยวกับวัณโรคปอด ทักษะการป้องกันวัณโรคปอดสูงขึ้นและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และผลวิเคราะห์ความแปรปรวนกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบแต่ละช่วงการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)จากผลการวิจัย พบว่าผู้สัมผัสร่วมบ้านมีความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอด การรับรู้ต่อการป้องกันวัณโรคปอด และแรงสนับสนุนทางสังคมเกี่ยวกับวัณโรคปอดดีขึ้น ส่งผลให้มีการป้องกันวัณโรคปอดดีขึ้น ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ดังนั้นโปรแกรมการสร้างการรับรู้ต่อการป้องกันวัณโรคปอดมีผลต่อการป้องกันวัณโรคปอดของผู้สัมผัสร่วมบ้าน สามารถนำโปรแกรมไปใช้ในงานประจำคลินิกวัณโรค จัดให้อยู่ในแผนงานการป้องกันโรคประจำปี และกำหนดให้เป็นนโยบายสุขภาพของท้องถิ่น

References

เอกสำรอ้ำงอิง
1. สำนักวัณโรคกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.รายงานสถานการณ์และผลการดำเนินงานวัณโรคของไทยประจำไตรมาส 2 ปีงบประมาณ 2557.กรุงเทพฯ:กองแผนงานและประเมินผล สำนักวัณโรค; 2557.

2. World Health Organization. WHO: The Globalplan to stop TB 2011-2015. [Online]. [accessedFebruary 26, 2014]. Available from:WHO/HTM/TB/2011.16.

3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี2557[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก:https://www.sko.moph.go.th

4. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตาพระยา.สรุปผลงานประจำปี2557.การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโรคติดต่อ;10กันยายน2557;สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตาพระยา; 2557.

5. โรงพยาบาลตาพระยา.สรุปผลงานประจำปี 2557.การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโรคติดต่อ;10กันยายน 2557; สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตาพระยา; 2557.

6. วลัยพร สิงห์จุ้ย. ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของผู้ดูแล[วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].นครปฐม:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.

7. บุษบา ประสมผล.ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้การปรึกษาโดยการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบสั้นต่อความรู้เกี่ยวกับวัณโรคและความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยวัณโรคปอด [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

8. ภิเชต เสริมสัย.การเปรียบเทียบความรู้แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในหมู่บ้านที่มีและไม่มีการระบาดตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี[วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัญฑิต].ชลบุรี:
มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.

9. ปรียา สินธุระวิทย์. การพัฒนาแนวทางการควบคุมวัณโรคในชุมชนของโรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-15