ผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และการพัฒนาภาคีเครือข่ายโดยใช้ระบบสุขภาพหนึ่งเดียวต่อการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเอง ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคมาลาเรียในพื้นที่ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้แต่ง

  • ณฏฐพล คำรังษี Faculty of Public Health, Mahasarakham University
  • เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ Faculty of Public Health, Mahasarakham University

คำสำคัญ:

โรคมาลาเรีย, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, ระบบสุขภาพหนึ่งเดียว, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการพัฒนาภาคีเครือข่ายโดยใช้ระบบสุขภาพหนึ่งเดียวต่อการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคมาลาเรียในพื้นที่ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมาลาเรีย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 48 คน โดยจัดให้กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประกอบด้วยกิจกรรมแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) การอบรมให้ความรู้โดยเน้นการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ การจัดกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเยี่ยมติดตามให้คำแนะนำโดยทีมภาคีเครือข่าย One Health ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลัง
การทดลองโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-testผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมาลาเรีย การรับรู้ความรุนแรงของการติดโรคมาลาเรีย การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัวในการป้องกันตนเองจากโรคมาลาเรีย การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตัวในการป้องกันตนเองจากโรคมาลาเรีย และด้านพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคมาลาเรียเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value<0.05)ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโปรแกรมนี้ เป็นผลมาจากการบูรณาการเสริมสร้างศักยภาพให้กับภาคีเครือข่ายโดยใช้แนวคิดระบบสุขภาพหนึ่งเดียว และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการรับรู้ ความเข้าใจ อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีการกำกับติดตามการดำเนินงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

References

1. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการใช้ยารักษามาลาเรียในผู้ป่วยไข้มาลาเรียชนิดไม่มีภาวะ
แทรกซ้อนสำหรับบุคลากรสาธารณสุข (ปรับปรุงปีพ.ศ. 2557). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2557.

2. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคไข้มาลาเรีย ประเทศไทย พ.ศ. 2558.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี. รายงานสถานการณ์โรคมาลาเรีย ปี 2554–2557.ปราจีนบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี;2558. (เอกสารอัดสำเนา)

4. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี.สรุปรายงานสถานการณ์โรคมาลาเรีย ปี 2554–2557 อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี; 2558.(เอกสารอัดสำเนา)

5. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปการดำเนินงานด้านสุขภาพหนึ่งเดียวของประเทศไทย(One Health). นนทบุรี; 2558.

6. Rosentock IM. Historical origins of the HealthBelief Model. Health Educ Monogr 1974; 2:328-35.

7. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2548.

8. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรอบรมการเฝ้าระวังควบคุมเพื่อการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียสำหรับทีม SRRT ระดับตำบล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย;
2557.

9. Likert. Attitude theory and measurement. NewYork: Wiley & Son; 1967.

10. เดือนนภา ศิริบูรณ์. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียของตัวแทนครัวเรือนตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. SNRUJST 2559; 8(3):292–300.

11. หาญณรงค์ แสงแก. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของแกนนำครัวเรือน ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร 2558,10(1): 65-81.

12. พรพิมล ประดิษฐ์, สิริมา มงคลสัมฤทธิ์, เกษร สำเภาทอง. การวิเคราะห์อภิมานปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้มาลาเรียตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2559; 10(2):92–103.

13. Becker M. The Health Belief Model and personal health behavior. Thorofare, NJ:Charles
B. Slack; 1974.

14. จีระศักดิ์ กรมาทิตย์สุข. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพลังชุมชนในการป้องกันโรคมาลาเรีย บ้านท่านหญิงตำบลตะกุกเหนืออำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559;4(2): 153-166.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-15