การพัฒนารูปแบบกลไกการประสานความร่วมมือและกำกับดูแลมาตรฐานการให้บริการ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภายหลังการถ่ายโอนภารกิจให้กับ องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การถ่ายโอน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) 2) การพัฒนารูปแบบกลไกการประสานความร่วมมือและกำกับดูแลมาตรฐานการให้บริการของ รพ.สต. และ 3) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการประสานความร่วมมือและกำกับดูแลมาตรฐานการให้บริการของ รพ.สต. ภายหลังการถ่ายโอนภารกิจให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ระยะเวลาดำเนินการ เดือนกรกฎาคม 2566 - มีนาคม 2567 เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลวิจัยพบว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ มี รพ.สต.ทั้งหมด 154 แห่ง ถ่ายโอนไปสังกัด อบจ. 62 แห่ง (40.26%) การถ่ายโอน รพ.สต. มี 2 รูปแบบ คือ 1) อำเภอที่มีการถ่ายโอนไปทุกแห่ง 1 อำเภอ และ 2) อำเภอที่มีการถ่ายโอนไปบางแห่ง 10 อำเภอ รูปแบบการประสานความร่วมมือและกำกับดูแลมาตรฐานการให้บริการของ รพ.สต. ภายหลังการถ่ายโอนภารกิจให้กับ อบจ.เพชรบูรณ์ คือ PHET MODEL ประกอบด้วย P:Participation คือกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม, H:Health Service คือกระบวนการจัดระบบบริการสุขภาพ, E:Empowerment คือกระบวนการเสริมพลัง และ T:Teamwork คือกระบวนการทำงานเป็นทีม
ผลการพัฒนาฯ พบว่า ก่อนดำเนินการมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบฯ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินการมีความพึงพอใจ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. คู่มือแนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖o พรรษานวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด. 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.
พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562. 2562 (2562,30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 56 ก. หน้า 165-185.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2565. เอกสารอัดสำเนา; 2565.
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2545.
Nites Sanannaree, Decha Buathed. รูปแบบภารกิจด้านสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หลังการถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. J Grad MCU KhonKaen Campus. 2024;11 (1) :91–101.
Tulyawadee Lortakul, Anuwat Krasang, Thitiwut Manmee. ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. J Leg Entity Manag Local Innov. 2021;7 (6) :29–42.
Warapron Phongoui, Chot Bodeerat. การศึกษาการเตรียมความพร้อมต่อการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก. J Mod Learn Dev. 2024;9 (2) :44–56.
คมสัน พลศรี, สัญญา เคณาภูมิ, ภักดี โพธิ์สิงห์, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. รูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติตามภารกิจการถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2019;13 (1) :185–98.
วรพจน์ พรหมสัตยพรต, สุมัทนา กลางคาร, รัตนสิทธิ์ ทิพย์วงศ์, สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, จตุพร เหลืองอุบล, และคณะ. ข้อเสนอเชิงนโยบายการกำกับและประเมินผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ได้รับการถ่ายโอนให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณีศึกษา จังหวัดมหาสารคาม [Internet]. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2566 Feb [cited 2024 Apr 8] p. 266. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5920
พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์, ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม, กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์, ปานปั้น รองหานาม. การขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัด: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น [Internet]. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2566 Jan [cited 2024 Apr 8]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5835
รัถยานภิศ รัชตะวรรณ, เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, รุ่งนภา จันทรา, บุญประจักษ์ จันทร์วิน, วัลลภา ดิษสระ, ปิยะพร พรหมแก้ว, และคณะ. รูปแบบการบริการสุขภาพของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภายหลังการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยใช้กลไกพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 [Internet]. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2565 Sep [cited 2024 Apr 8]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5821
วิรงรอง สิงห์ยะบุศย์. การพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอและสหวิชาชีพด้านสุขภาพในการจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม. 2021;1 (2) :14–32.
วิไลลักษณ์ ทิวากรกฎ. ความพึงพอใจและผลกระทบภายหลังการถ่ายโอนภารกิจด้านทันตสาธารณสุขให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปรก จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2022;41 (4) :437–48.