รูปแบบการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สุรสิทธิ์ เทียมทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปฏิบัติงานพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษากระบวนการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลหลัก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบด้วย 6 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 การประชุมค้นหาปัญหาของบริการระดับปฐมภูมิ กิจกรรมที่ 2 การวิเคราะห์สภาพปัญหาของพื้นที่โดยใช้ PBL กิจกรรมที่ 3 การจัดทำแผนงาน/โครงการแก้ไขปัญหา กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการ โดยใช้กระบวนการ PDCA กิจกรรมที่ 5 การควบคุม กำกับ ติดตามและประเมินผล กิจกรรมที่ 6 การสรุปและถอดบทเรียนรูปแบบการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเชียงใหม่ ระยะที่ 3 การประเมินประสิทธิผลโปรแกรมการทดลองรูปแบบการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเชียงใหม่ โดยนำรูปแบบการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบด้วย 1) ด้านการบริหาร 2) ด้านการบริการ 3) ด้านวิชาการ ไปทดลองใช้กับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองจากแบบสอบถาม เพื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองโปรแกรมการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ค่าคะแนนเฉลี่ยระบบบริการปฐมภูมิแต่ละด้านภายหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ด้านการบริหาร (P-value<0.001) ด้านการบริการ (P-value<0.001) ด้านวิชาการ (P-value<0.001) ตามลำดับ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักประสานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. แนวนโยบายการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. นนทบุรี. กระทรวง สาธารณสุข. 2556.

สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาปฐม ภูมิ ทุติยภูมิ และสุขภาพองค์รวม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2556.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. สรุปผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2564. เอกสารอัด สำเนา. 2565.

สุรสิทธิ์ เทียมทิพย์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก. 2566; 10(1): 92-105.

Cronbach. Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row. 1997.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และประชาทิป กระทา. สุขภาพปฐมภูมิจากปรัชญาสู่ปฏิบัติการสุขภาพมิติ ใหม่. กรุงเทพมหานคร: สุขศาลา. 2551.

สุพัตรา ศรีวนิชชากร และคณะ. สรุปเนื้อหาสำคัญ โครงการวิจัยและพัฒนาระบบบริการเวชปฏิบัติ ทั่วไป รายงานผลการศึกษาฯ เล่มที่ 1 พ.ศ.2541. 2545.

รณิดา มนต์ขลัง. การบริหารเชิงกลยุทธ์ในการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์. 2560; 1(1): 46-61.

ไพจิตร์ วราชิต. คู่มือการบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ: องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2552.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสุขศึกษา. แนวปฏิบัติการบริการสุขภาพสำหรับศูนย์สุขภาพชุมชน แบบบูรณาการ. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบมราชูปถัมภ์. 2556.

นันทินารี คงยืน. ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิกับมาตรฐานการพัฒนา. วารสารกฎหมายสุขภาพและ สาธารณสุข. 2560); 3(3): 374-387.

ชูชัย ศุภวงศ์ และคณะ. คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุง เทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2553.