2.ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชาวเขาเผ่าม้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชาวเขาเผ่าม้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวเขาเผ่าม้ง อายุ 20 – 60 ปี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 6 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired samples t-test และ Independent samples t-test
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60 อายุเฉลี่ย 37.43 ปี สมาชิกในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 43.3 กลุ่มเปรียบเทียบส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.3 อายุเฉลี่ย 39.4 ปี สมาชิกในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 36.7 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (p-value < 0.05) และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย มีค่าลดลงมากกว่าก่อนการทดลองและลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p-value < 0.05)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.
กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2565 [Available from: https://datastudio.google.com/u/0/reporting/84a91f26-9f99-4d85-aa9c-9f2f42205a77/page/cFWgC.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก 2565 [Available from: http://61.19.32.25/epid/data/wk_dhf/56/wk.pdf.
Kolb DaK, Alice,. The Kolb learning style inventory–version 4.0: Guide to the Theory, Psychometrics, Research & Applications.2013.
พัฒน์ธนี ดีเกตุ. กาศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกของประชาชนเขตเทศบาลนครพิษณุโรค. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก. 2562;6(2): 59-60.
นิดา มีทิพย์ เดชา ทำดี ประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล. ผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติการคัดกรองและการให้คำแนพนำโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พยาบาลสาร. 2559;43:111.
วิญญ์ทัญญู บุญทัน. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการใช้เครื่องมือประเมินสุขภาพผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล. Rama Nurs J. 2563;26.
Beard C, Wilson JP. Experiential Learning: A Best Practice Handbook for Educators and Trainers: Kogan Page; 2006.
ดอกแก้ว ตามเดช ภูวนารถ ลิ้มประเสริฐ ณรงค์ ใจเที่ยง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลป่าแฝก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2564;10(2).
อัจฉริยา เชื้อเย็น. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้หารปฏิบัติการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีเจาะจากปลายนิ้วในอาสาสมัคสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2565.