ระดับความผูกพันของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ปวีณา ทีฆภาคย์วิศิษฎ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก ปัจจัยค้ำจุน ปัจจัยจูงใจต่อความผูกพันต่อองค์กร และความสัมพันธ์ของปัจจัยค้ำจุน ปัจจัยจูงใจต่อความผูกพันต่อองค์กร  กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 256 คน  ระยะเวลาดำเนินการเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2565  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยค้ำจุน ปัจจัยจูงใจและความผูกพันต่อองค์กร ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามปัจจัยค้ำจุน ปัจจัยจูงใจ และความผูกพันต่อองค์กร ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.966, 0.971 และ 0.915 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า One - way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์   ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกมีระดับความผูกพันต่อองค์กรในระดับสูง สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้ที่แตกต่างกันจะมีความผูกพันต่อองค์กรที่แตกต่างกัน  ปัจจัยค้ำจุนและปัจจัยจูงใจในภาพรวมมีความผูกพันอยู่ในระดับสูง และปัจจัยค้ำจุน  ปัจจัยจูงใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญ 0.05

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

มีเดช นาคะภากร, พัฒนพันธ์ เขตต์กัน. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานส่วนตำบลในเขตอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร (วิทยานิพนธ์ปริญญาปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม; 2560.

สุวรรณา พูนพะเนาว์. ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะบริหารจัดการ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช; 2552.

แสงเดือน รักษาใจ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษาบริษัทกรุงเทพประกันภัยจำกัด มหาชน สำนักงานใหญ่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2554.

Schaufeli WB, Bakker AB. Job demand, Job resources and their relationship with burnout and engagement: A Multi-sample study. Journal of Organizational Behaviors. 2004; 25:293-315.

บัณฑา เพชรน้อย. ความรู้สึกมุ่งมั่นผูกพันต่อองค์การของพนักงาน:แรงผลักดันหลักของผลการปฏิบัติงานของ องค์การ กรณีศึกษาโรงแรมโซฟิเทล สีลม กรุงเทพฯของผู้บริหารระดับกลางและระดับหัวหน้างาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). คณะวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2550.

ปาริชาต บัวเป็ง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทไดกิ้น อินดัสทรี

ประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี; 2554.

Herzberg F. The Motivation to Work. 2nd Ed. New York: John Wiley and sons; 1959.

ชูยศ ศรีวรขันธ์. ปัจจัยแรงจูงใจต่อผลปฏิบัติงาน:กรณีศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลเขต อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). คณะวิศวกรรมศาสตร์. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2553.

Hewitt A. Research Brief: Employee engagement higher at double digit growth companies (Internet). 2004 (cited 2013 March 25). Available from: http://www.hewitt.com

เนตรนภา นันทพรวิญญู. ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด

(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). คณะวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราช

ภัฏพระนคร; 2551.

ณัฐดนัย ปัญจางคกุล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อบุคลากรในระดับมหาวิทยาลัย

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย

รามคำแหง; 2562.

ณฐพรรณ ชาญธัญกรรม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมชลประทาน

(สามเสน) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก; 2560.

อิงอร ตั้นพันธ์. ความผูกพันของพนักงานระดับหัวหน้างานต่อองค์การของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมบางชัน. วารสารเกษมบัณฑิต2558; 16: 125-139.

อำนาจ ยิ้มช้อย. ความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงต่อบริษัทผู้ว่าจ้าง กรณีศึกษา บริษัทซัทมิท โอโต้ บอร์ดี้ อินดัสตรีท จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สาขาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์.สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี; 2550.

อธิทธิ์ ประกอบสุข. ความผูกพันต่อองค์กร:ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม.

กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์; 2549.

ธนพร แย้มสุดา. ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมแพทย์ทหารเรือ. วารสารแพทย์นาวี

; 3: 20-30.

กฤษฎา ตันเปาว์, น้ำทิพย์ จันนา, อนันตโชค รัตนการุณย์พงศ์. ความคิดเห็นของพนักงานต่อแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน บริษัท ดีไลน์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์; 2559.

กัญญาพร ฐิติพงศ์, ประสพชัย พสุนนท์. แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในบริษัทก่อสร้าง : กรณีศึกษา บริษัท อินเตอร์ เอ็กซ์เพิร์ท คอนสตรัคชั่น จำกัด. วารสารวิชาการVeridian E-Journal2559; 3: 1288-1290.

วรรณา บุญเผ่า. ปัจจัยค้ำจุน ปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของบุคลากรในองค์การธุรกิจเวชภัณฑ์ยารักษาโรคแห่งหนึ่ง(สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2554.