ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

อัจฉรา สุหิรัญ
อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประชากรคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 2,164 คน โดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 345 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนา 2019 แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง (97.68%) พฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนา 2019 (89.28%) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ (r=0.193, P-value<0.001) การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ (r=0.108, P-value=0.044) การตัดสินใจเลือกปฏิบัติ (r=0.422,
P-value<0.001) การจัดการสุขภาพตนเองและครอบครัว (r=0.199, P-value<0.001) การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศ (r=0.446, P-value<0.001) ตามลำดับ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Naming the coronavirus disease (COVID-2019) and the virus that causes it. Revised on 22 January 2022. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/technical-guidance/naming- the-coronavirus-disease-(covid-2019)-and-the-virus-that-causes-it. 2019.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. 2563: 10-11.

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำวันที่

กรกฎาคม 2565. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565. สืบค้นจากเวปไซด์

https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/250765.pdf. 2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. Health data center. เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563. สืบค้นจากเวปไซด์ https://nsn..hdc.moph.go.th. 2563.

การสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงาน สุขภาพภาคประชาชน. พิมพ์ ครั้งที่ 3. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2546

Nutbeam, D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International. 15(8) printed in Great Britain. 2000.

พิชัย พวงสด, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ, พุฒิพงษ์ มากมาย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขต อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น. 2563; 1(3): 1-12.

Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons. 2010.

Best, John W. Research is Evaluation. (3rded). Englewood Cliffs: N.J. Prentice-Hall. 1977.

Cronbach, Lee J. Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper. 1951.

วีระ กองสนั่น, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตตำบลหนอง ใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2563; 3(10): 35- 44.