คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง

Main Article Content

วันเต็ม สังข์ขาว

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป G*Power ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 122 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีหยิบฉลากแบบไม่คืน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบประเมินระดับการพึ่งพาของผู้ป่วย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลโดยสถิติไคสแควร์และวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


            ผลการศึกษา พบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดหลือดสมองในอำเภอเมือง จังหวัดตรังอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 47.15,   96.13 S.D. 18.34) ระดับการพึ่งพาผู้ดูแลของผู้ป่วยอยู่ในระดับน้อย (   14.1, S.D. 7.3) การสนับสนุนทางสังคมต่อผู้ดูแลอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.2,   3.55 S.D .73) ระดับการพึ่งพาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ดูแลในระดับต่ำ(r =.372, p<.001) และการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลมีสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ดูแลในระดับปานกลาง(r =.667, p<.001)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

CDC [Internet]: About Stroke. [cited 2023 Feb 6]. Available from: https://www.cdc.gov/stroke/about.htm

National Library of Medicine (NLM): Stroke Also called: Brain attack, CVA. [cited 2023 Feb 6]. Available from: https://medlineplus.gov/stroke.html.

กองบรรณาธิการ อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า สุธิดา แก้วทา รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562.เดือนพฤษภาคม 2563โรงพิมพ์ สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ กลุ่มเทคโนโลยีระบาดวิทยา และมาตรการชุมชน กองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Hos.xp โรงพยาบาลตรัง ข้อมูล ณ วันที่ 10 กพ.2566.จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตรัง

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด, โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่; 2540.

Khan. 1979. Aging and social support. In aging from birth to death. 9th Ed. Interdisciplinary perspective Coro: Westview Press.

Schaefer, C., Coyne, J. C., & Lazarus, R. S. (1981). The health-related functions of social support. Journal of Behavioral Medicine 2019 4(4), 381-405

Long NX, Pinyopasakul W, Pongthavornkamol K, Panitrat R. Factors predicting the health status of caregivers of stroke survivors: A cross-sectional study. Nurs Health Sci. 2019;21(2):262-268. doi: 10.1111/nhs.12591. Epub 2019 Jan 7. PMID: 30618202.

นพวรรณ ดวงจันทร์, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย

พื้นฐานบางประการ ความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูล รางวัลสำหรับการดูแลกับคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง.วารสารสภาการพยาบาล 2560; 32(2): 65-78

นิตยา ศรีสุข จิราพร วัฒนศรีสิน ธวัชชัย ทีปะปาล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในจังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4(Special Issue): 317-331

ภัทริกา ปัญญา, บุบผา วิริยรัตนกุล.ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อระดับการสนับสนุนทางสังคมและคุณภาะชีวิตของผูดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในภาวะพึ่งพิง. วารสาร มฉก.วิชาการ 2562;23 (2):

-253.

ปุณยนุช จี๋มะลิ,ธณกร ปัญญาใสโสภณ,และพรปวีณ์ ชื่นใจเรือง. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่ออคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ติดเตียง. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2564; 7(2): 37-49

วันเพ็ญ แก้วดวงดี. ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของ Care Giver อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก 2565; 9(2):36-49