การรับรู้ ความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตก หกล้ม ของผู้สูงอายุ ตำบลนาเพียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

คมสันต์ อันภักดี
สุพัฒน์ อาสนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ ความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตก หกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลนาเพียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น      กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ จำนวน 312 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา


                ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมการรับรู้ความเสี่ยงของการพลัดตก หกล้ม อยู่ในระดับดี ร้อยละ 96.15 รายด้านอยู่ในระดับดี คือ1) ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการพลัดตก หกล้ม 2) ด้านการรับรู้ความรุนแรงของการพลัดตก หกล้ม และ3)ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันการพลัดตก หกล้ม อยู่ในระดับปานกลาง คือด้านการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันการพลัดตก หกล้ม ภาพรวมผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตก หกล้ม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.21 ภาพรวมผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 72.44 ดังนั้น ผู้สูงอายุควรได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรด้านสาธารณสุข เพื่อรับรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงและการป้องกัน รวมถึงส่งเสริมให้ญาติและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ เพื่อป้องกันปัญหาการพลัดตก หกล้ม ในกลุ่มผู้สูงอายุ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562 2563; 1:1-132.

Department of older person. Number of elderly people in Thailand 2019. [Internet]. 2019[cited 2022 Dec 15];Available from: http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1550973505-153 0.pdf.

นิตยภรณ์ ทองเพ็ชร. ก้าวย่างของประเทศไทย สู่‘สังคมผู้สูงอายุ’อย่างสมบูรณ์แบบ. สื่อสิงพิมพ์ กรมสุขภาพจิต.[อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565]; เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.สถานการณ์ผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่น ปี พ.ศ.2564.สื่อสิ่งพิมพ์. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 18ธันวาคม2565]; เข้าถึงได้จากhttps://www.kkpho.go.th

นุกูล เลิศจันทรางกูร, รุจิรา หมื่นรักษ์. ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ตำบลคลองตาล อำเภอศรีสําโรง จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.9 พิษณุโลก.2557; 2 : 37-46.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลัง

นานาวิทยา; 2547.

Best, John W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc; 1977.

กนกวรรณ เมืองศิริ, นิภา มหารัชพงศ์, และยุวดี รอดจากภัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2560. 25(4); 23-33.

กมลทิพย์ หลักมั่น. การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน(การค้นคว้าอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต).ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.

วิสาขา ภู่จินดา, ยลดา พงค์สุภา, วิภาพรรณ เพียรแย้ม, ภารุณ วงศ์จันทร์, สิริสุดา หนูทิมทอง. การพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย. สำนักวิจัยและคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์;2560.