ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลเนินมะกอก อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

จิราพร สินธุพรหม
อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลเนินมะกอก อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ประชากรคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตตำบลเนินมะกอก อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 473 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 222 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล แรงสนับสนุนทางสังคม ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม (r=0.151,  p-value=0.024) และความรอบรู้ด้านสุขภาพ (r=0.283,  p-value=0.001) ตามลำดับ   

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Global report on diabetes. [internet]. [cited 1 July 2017]. Available from: http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/204871/1/9789241565257_eng.pdf. 2017.

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas. 9th ed. Brussels, Belgium: International Diabetes Federation. 2015.

World Diabetes Day Thailand Together Fight Diabetes. 2019.

Theptrakanporn, S., Mongkongsumrit, S., Keawdok, T., Vatthanasuy, S., &Rakkapa, N.Evaluation and lesson distilled on implementation of chronic kidney disease clinic, under policy of Public Health [internet]. [cited 3 April 2020]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/11228/4878.2017.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. Health data center [อินเทอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2563. เข้าถึงได้จาก https://nsn..hdc.moph.go.th. 2563.

Crockell, Y.J. Management of chronic kidney disease: An emphasis delaying disease progression and treatment options. Formulary Journal. 2012; (47): 228-237.

Schena, F.P. Epidemiology of end stage renal disease: International comparisons of renal replacement therapy. Kidney International. 2000; (57): 1-7.

ธิดารัตน์ อภิญญา. รูปแบบการดำเนินงานป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อในวิถีชีวิตด้วยการลดการบริโภคเกลือ. นนทบุรี. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2559.

วีระ กองสนั่น, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2563; 3(1): 35-44.

Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons. 2010.

Best, John W. Research is Evaluation. (3rded). Englewood Cliffs: N.J. Prentice-Hall. 1977.

Nutbeam, D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International. 15(8) printed in Great Britain. 2000.

Cronbach, Lee J. Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper. 1951.

Green, L. W. and Kreuter, M.W. Health promotion planning: and environmental approach. Toronto: Mayfied Publishing. 1991.

Cobb, S. Social support as a moderation of life stress. Psychosomatic Medicine. 1979); 38(5): 300-301.

Barrear, M. In social Network And Social Support. Berly hill : CA Sge Puplication. 1986.

ขนิษฐา ก่อสัมพันธ์กุล, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. รวมบทความการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 6 ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ประจำปี 2561 “การดูแลทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ” ในวันที่ 4-5 เมษายน 2561. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. 2561.

กองสุขศึกษา. ผลการสำรวจ Health Literacy ในกลุ่มเยาวชนอายุ 12-15 ปี. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. 2554.

ภาวิณี มนตรี, กาญจนา คงศักดิ์ตระกูล, ศุรภดา มณฑาทิพย์ และคณะ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี. วารสารควบคุมโรค. 2564; 47(2): 343-352.