ปัจจัยทำนายที่มีผลต่อความสำเร็จงานวัณโรคตามนโยบาย ในโรงพยาบาล เขตสุขภาพที่ 8 อุดรธานี

Main Article Content

สุริยา สาขาสุวรรณ
วุธิพงศ์ ภักดีกุล
วรินท์มาศ เกษทองมา

บทคัดย่อ

การสาธารณสุขไทยมีภาระงานต่อสู้กับโรควัณโรคและดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ ปี  2560 - 2564  เขตสุขภาพที่  8  อุดรธานีมีผลงานวัณโรคที่มีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงทำการค้นหา


ปัจจัยทำนายที่มีผลต่อความสำเร็จงานวัณโรค การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายที่มีผลต่อความสำเร็จงานวัณโรคตามนโยบาย ในโรงพยาบาล เขตสุขภาพที่  8  อุดรธานี  รูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลปี  2565 มีค่าความเชื่อมั่น 0.840 ประชากร คือ เจ้าหน้าที่คลินิกวัณโรคประจำโรงพยาบาลภาครัฐจำนวน  88 คน ในเขต 7 จังหวัดเขตรับผิดชอบงานวัณโรคของเขตสุขภาพที่ 8 อุดรธานี การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  sampling)โดยศึกษาทั้งประชากร 88 คน ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ  71.59 ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ วิธี Stepwise โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ มีดังนี้  ด้านการบริหารการประเมินผลงานเป็นตัวแปรทำนายสามารถพยากรณ์ความสำเร็จงานวัณโรค อำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 60.80  (R 2 = .608, p = .0001)    ด้านแรงจูงใจเป็นตัวแปรทำนายสามารถพยากรณ์ความสำเร็จงานวัณโรค อำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 87.50 (R 2 = .875, p =  .0001)  ด้านการบริหารทรัพยากรเป็นตัวแปรทำนายสามารถพยากรณ์ความสำเร็จงานวัณโรค อำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 54.40 (R 2 = .544, p =  .0001) ด้านการเป็นผู้นำเป็นตัวแปรทำนายสามารถพยากรณ์ความสำเร็จงานวัณโรค อำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 45.60 (R 2 = .456, p = .0001) ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการบริหารงาน การวางแผนงาน และการบริหารทรัพยากรสาธารณสุข

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กองวัณโรค. รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคประเทศไทย และวัณโรคดื้อยา[อินเทอร์เนต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 6 ธันวาคม 2564, ]; เข้าถึงได้จาก: http://www.tbthailand.org/download/form/รายงาน สถานการณ์วัณโรคเดือนมีนาคม.pdf.

World Health Organization. GLOBAL TUBERCULOSIS REPORT 2020[internet]. 2020 [cited 2021 Sep 9] Available from : www.who.inttbdata.

กองวัณโรค. รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคประเทศไทย [อินเทอร์เนต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 6 ธันวาคม 2564, ]; เข้าถึงได้จาก: https://www.tbthailand.org /statustb.html.

จันทร์ชนก กิตติจันทโรภาส. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน[อินเทอร์เนต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 6 ธันวาคม 2564]; 5: 74-74 เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/ index.php/ajcph/article/view/247224.

กองวัณโรค. อัตราความสำเร็จและการประเมินผลงานประเทศไทย[อินเทอร์เนต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 7 ธันวาคม 2564, ]; เข้าถึงได้จาก: http://tbcmthailand.ddc.moph.go.th/UIForm/Tableau/TEST_tbcm.php.

นรเทพ อัศวพัชระ. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดในจังหวัดระนอง.

วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย[อินเทอร์เนต]. 2561[เข้าถึงเมื่อ 6 ธันวาคม 2564];

: 200-211 เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/146641.

ปภินวิทย์ คำสมาน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุน

จากองค์กรที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร.วารวสารวิจัย มข.[อินเทอร์เนต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ

ธันวาคม 2564]; 21: 223-235 เข้าถึงได้จาก: https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/

gskku/article/view/241041.

รุ้งประกาย อินจอง. ผลการรักษาวัณโรคและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตายของวัณโรคในโรงพยาบาล

สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารควบคุมโรค[อินเทอร์เนต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 ธันวาคม 2564];

:370-380 เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/210204.

ปัญจรัตน์ คำมา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอด เสมหะพบเชื้อ

รายใหม่ในจังหวัดเลย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น[อินเทอร์เนต]. 2562 [เข้าถึง

เมื่อ 6 ธันวาคม 2564]; 26: 36-47 เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/

article/view/165455.

กมลวรรณ อิ่มด้วง, กชรดา ศิริผล, กัลยาณี นาคฤทธิ์, ฐาปะนีย์ การิกาญจน์, ละมุน แสงสุวรรณ, วิเชียร

ตระกูลกลกิจ, และคณะ. สถานการณ์การเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำในเขตสุข

ภาพที่ 11. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก[อินเทอร์เนต].2565 [เข้าถึงเมื่อ15สิงหา

คม 2565]; 9:76-92 เข้าถึงได้จาก: https://he01.tcithaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/256617.

กองบริหารการสาธารณสุข. ทำเนียบสถานบริการสุขภาพสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

[อินเทอร์เนต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2565, ]; เข้าถึงได้จาก: https://phdb.moph.go.th/

main/index/downloadlist/57/0.

พงษ์ศักดิ์ ซิมมอนด์ส. บทความวิชาการ การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์การถดถอย

เชิงเส้นตรง Linear Regression Analysis Primary Agreement’s Test. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร

[อินเทอร์เนต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 7 กันยายน 2564]; 7: 20-37 เข้าถึงได้จาก: https://so03.tci-

thaijo.org/index.php/jrcd/article/view/115566.

ธีระ กุลสวัสดิ์. การหาคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย.[อินเทอร์เนต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน

; เข้าถึงได้จาก: https://km.buu.ac.th/public/backend/upload/article/file/

document144620064347362700.pdf.

นิออน ลีคะ, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก. คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการ

ปฏิบัติงานควบคุมป้องกันวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ[อินเทอร์เนต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน

; 14:13-24 เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/254940.

WEI Y J, WANG Z C, JIANG M X, LI E C, CHAO X Z. Analysis on the factors that influence the

treatment outcome of Tibetan nationality new smear-positive pulmonary tuberculosis patients in

Qinghai province. Chinese Journal of Disease Control & Prevention [internet]. 2020. [cited 2021 Sep

; 12: 284-289.Available from: https://pesquisa.bvsalud.org/portal/resource /pt/wpr-873503.

Osman M, Lee K, Du Preez K, Dunbar R, Hesseling A C, Seddon J A. Excellent treatment

outcomes in children treated for tuberculosis under routine operational conditions in Cape Town,

South Africa. Clinical Infectious Diseases [internet]. 2017. [cited 2021 Sep 12]; 65: 1444-1452

Available from: https://academic.oup.com/cid/article/65/9/1444/3925806?login=true.

ปวีณา จังภูเขียว, ชนะพล ศรีฤาชา. แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่

สาธารณสุขประจำคลินิกวัณโรคในเขตตรวจราชการที่ 10 และ 12.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรค

ที่ 7 ขอนแก่น[อินเทอร์เนต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม 2564]; 20:1-10 เข้าถึงได้จาก:

https://he01.tcithaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/166003.

ทักษิณา จิตเรืองไพโรจน์. การประเมินผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรคตามแนวทางการรักษาแบบมีพี่

เลี้ยง (DOTS) ของโรงพยาบาลนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2550 - 2551. วารสาร

โรงพยาบาลมหาสารคาม[อินเทอร์เนต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564]; 6:41-48 เข้าถึงได้จาก:

https://he02.tci-thaijo.org/ index.php/MKHJ/article/view/254175.

พรรณี มาโรจน์, นิรมล พิมพ์นำเย็น, อดิสร วรชัยสมบัติ, วัชระ สังขรณี. ประสิทธิภาพของการจัดการ

นโยบายการป้องกันและควบคุมวัณโรคในจังหวัดเพชรบูรณ์. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขต

เมือง[อินเทอร์เนต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2564];61 : 117-128 เข้าถึงได้จาก:

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/VMED/article/view/195538.

ณัฐกร จันทนา, วันทนา มณีศรีวงศ์กุล, ปานวดี พุทธวัฒนะ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามการ

รักษาวัณโรคดื้อยาหลายชนิด. รามาธิบดีพยาบาลสาร [อินเทอร์เนต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 ธันวาคม

; 25:296-309 เข้าถึงได้จาก: https://he02.tcithaijo.org/index.php/RNJ/article/view/181645.

ชาติชาย กิติยานันท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการรับประทานยาต้านวัณโรคไม่ถูกต้องในผู้ป่วยดื้อยา.วารสาร

การแพทย์ โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์[อินเทอร์เนต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 6 ธันวาคม 2564];

: 389-400 เข้าถึงได้จาก: https://he02.tcithaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/160759.

สิทธนะ วชิระสิริกุล, วสุธร ตันวัฒนกุล, นิภา มหารัชพงศ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราความสำเร็จในการ

ปฏิบัติงานตามแนวทางควบคุมวัณโรคแห่งชาติของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

ตำบล จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา[อินเทอร์เนต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม

; 9: 76-84 เข้าถึงได้จาก: http://ojslib3.buu.in.th/index.php/health/article/view/3338.

สุพัตรา สิมมาทัน, ชนะพล ศรีฤาชา. การปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพ ด้านการดูแล

รักษาวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7. วารสารสำนักงานป้องกัน

ควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น[อินเทอร์เนต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2564]; 24:88-99 เข้าถึงได้จาก:

https://he01.tcithaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/162458.

ประดิษฐ์ ปฐวีศรีสุธา. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรงโดยใช้

แอปพลิเคชันไลน์ต่อการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยวัณโรคปอด.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบ

สุขภาพ [อินเทอร์เนต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564]; 14:301-309 เข้าถึงได้จาก:

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ RDHSJ/article/view/252602.

Mutembo S, Mutanga J N, Musokotwane K, Kanene C, Dobbin K, Yao X, et al. Urban-rural

disparities in treatment outcomes among recurrent TB cases in Southern Province, Zambia. BMC

infectious diseases [internet]. 2019. [cited 2021 Sep 9]; 19 : 1-8 Available from:

https://bmcinfectdis. biomedcentral.com/articles/10.1186/s12879-019-4709-5.

ถวิล ธาราโภชน์, ศรันย์ ดำริสุข. พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: ห้างจำกัด

ทรัพย์วิสุทธิ์; 2545.