การสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในครอบครัวเดียวกัน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานป้องกันควบคุมโรคติดต่อและสาธารณสุขชายแดน โรงพยาบาลแม่สอด ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 1 ราย จึงดำเนินการสอบสวนโรคโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค การกระจาย ค้นหาปัจจัยเสี่ยง และมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค รูปแบบการศึกษาเป็นระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ค้นหาผู้สัมผัสทั้งหมด ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่ 1 เมษายน – พฤษภาคม 2564 ผลการสอบสวนพบผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 20 ปี สัญชาติไทย มีประวัติเดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่ก่อนเทศกาลสงกรานต์ มีอาการไข้ ไอ มีเสมหะ ถ่ายเหลวมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้งหมด 4 ราย ได้แก่ บิดา มารดา พี่สาว และแฟนพี่สาว จากการเฝ้าระวังโรค 14 วันพบมีการติดเชื้อจากผู้ป่วยแบบไม่แสดงอาการคือแฟนพี่สาว อาการไม่รุนแรงไม่มีปอดอักเสบ คือพี่สาวและมารดา มีปอดอักเสบและมีภาวะพร่องออกซิเจนคือบิดา ไม่มีผู้เสียชีวิต และไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 มาก่อน รักษาตัวในโรงพยาบาลปัจจัยเสี่ยงการแพร่โรคผู้ป่วยรับเชื้อมาจากสถานบันเทิงแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างมีไปสถานที่แห่งนั้นไปไม่สวมหน้ากากอนามัย สถานที่แออัด ระบบอากาศปิด และไม่มีระบบระบายอากาศ ควรกำกับดูแลให้ผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างจังหวัด กักตัว รายงานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและติดตามอาการของตนเองจนครบ 14 วัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
World Health Organization. Origin of SARS-CoV-2 [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2020 [cited 2020 Dec 12]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/origin–of–SARS-CoV-2
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกันระดับโรค และในประเทศไทย. นนทบุรี: กลุ่มเทคโนโลยี และระบาดวิทยา กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 8 พฤศจิกายน 2565
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานคัดกรอง เฝ้าระวัง และสอบสวนโรคตดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับวันที่ 4 ธันวาคม 2563. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2563.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับปรับปรุง วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2564.
บริษัท กิบไทย จำกัด. การศึกษา SARS-CoV-2 mutations และ gene expression profiles ด้วย Next Generation Sequencing (NGS) [อินเตอร์เน๊ต]. 2556[เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.gibthai.com/service/article_detail/การศึกษา SARS-CoV-2 mutations และ gene expression profiles ด้วย Next Generation Sequencing (NGS).html
บริษัท โปรโมชั่นส์ แอนด์ คูปอง. ตรวจโควิด RT-PCR คืออะไร ทำไมถึงให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ [อินเตอร์เน๊ต]. 2565[เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565]. แหล่งข้อมูล: https://promotions.co.th/สำรวจตลาด/ข่าวสาร/what-is-rt-pcr-covid-test-and-why-does-it-give-accurate-results.html
บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด. พบโควิด-19 “B.1.1.7” การกลายพันธุ์ครั้งใหม่ในอังกฤษ [อินเตอร์เน๊ต]. 2556. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/138774.
กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับปรับปรุง วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564 สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข [อินเตอร์เน๊ต]. 2021; [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: http://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?con-tentId=109.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. รายงานการตรวจหาสายพันธุ์ของโคโรนาไวรัส 2019. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 21 มิถุนายน 2564
กรมอนามัย. การเดินทางไกลในช่วงปีใหม่ มีทั้งใช้บริการขนส่งสาธารณะ และรถยนต์ส่วนตัวแบบการรวมกลุ่มเดินทางด้วยพาหนะคันเดียวกัน [อินเตอร์เน๊ต] .2556 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.thaipbs.or.th/news/content/311136
ศุภลักษณ์ ศรีวิไลย์, รุ่งเรือง ทองศรี. การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ส่งผลต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 2564; 7(8): 405-16.