ประสิทธิผลโปรแกรมพัฒนาทักษะการใช้ชุดตรวจการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยตนเอง ต่อความรู้ ความมั่นใจ และขั้นตอนการปฏิบัติ ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ปรียวัจน์ ฤทธิรัศมี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการใช้ชุดตรวจการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยตนเองต่อความรู้ ความมั่นใจ และขั้นตอนการปฏิบัติ ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ในช่วง 1 มิถุนายน 2565 – 31สิงหาคม 2565 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเข้าร่วมวิจัยทั้งสิ้น 47 ราย ทำการแบ่งกลุ่มด้วยการสุ่มอย่างง่ายออกเป็น กลุ่มโปรแกรมอบรมด้วยวีดีทัศน์ 23 ราย กลุ่มโปรแกรมอบรมสาธิตปฏิบัติ 24 ราย เก็บข้อมูลทั้งก่อนและหลังโปรแกรมด้วยแบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินความมั่นใจ และแบบประเมินปฏิบัติตามขั้นตอนมาตรฐาน วิเคราะห์สถิติด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมานด้วย Fisher’s Exact Test, T-Test ผลการศึกษาพบว่าคะแนนความรู้ คะแนนความมั่นใจ คะแนนปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้ชุดตรวจด้วยตนเองภายหลังอบรมระหว่าง 2 โปรแกรมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบภายในพบว่าทั้ง2 กลุ่มมีความรู้และความมั่นใจเพิ่มขึ้นหลังโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มโปรแกรมอบรมด้วยสื่อวีดีทัศน์พบคะแนนความรู้มีค่า T value -5.52-(<0.05) และความมั่นใจมีค่า T value -2.26-(0.03) ในกลุ่มโปรแกรมอบรมสาธิตปฏิบัติ พบคะแนนความรู้มีค่า T value -5.02-(<0.05) และความมั่นใจมีค่า T value -2.14-(0.04)


จากผลการศึกษาพบว่าทั้งโปรแกรมอบรมด้วยสื่อวีดีทัศน์และโปรแกรมอบรมสาธิตปฏิบัติช่วยให้ผู้อบรมมีความรู้ ความมั่นใจมากขึ้น สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนขณะใช้ชุดตรวจได้ถูกต้อง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization .Weekly epidemiological update on COVID-19 [Internet]; 2022 [cited 2022 Jan 11]. Available from: https://www.who.int/publications/m/item/weekly-epidemiological

World Health Organization Thailand: WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard Data; 2022 [cited 2022 January 13]. Available from: https://covid19.who.int/region/searo/country/th/

กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. รวมแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019; 2022 [cited 2022 January 13]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1172820210901081231.pdf

วรรณา วิจิตร. รูปแบบการทำงานที่บ้านของบุคลากรในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก .วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2พิษณุโลก 2564; 8: 30-42.

Liao WT, Hsu MY, Shen CF, Hung KF, Cheng CM. Home Sample Self-Collection for COVID-19 Patients. Adv Biosyst. 2020; 4(11): e2000150.

Mathews SS, Varghese L, Trupthi MC, Naomi N, Varghese AM. Covid 19 Pandemic-Training of Healthcare Workers in Obtaining a Nasopharyngeal Swab: Our Experience. Indian J Otolaryngol Head Neck Surg. 2021; 15:1-5.

Abud BT, Hajnas NM, Redleaf M, Kerolus JL, Lee V. Assessing the Impact of a Training Initiative for Nasopharyngeal and Oropharyngeal Swabbing for COVID-19 Testing. OTO Open. 2020; 4(3): 2473974X20953094. Published 2020 Aug 14.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สาธิตวิธีการใช้ชุดตรวจแอนติเจน(Antigen Test Kit) [อินเทอร์เน็ต]; 2022. Available from: https://www.youtube.com/watch?v=NDJsGeMAubk

Maliheh A, Mahnaz J, Asghar M, Mahmood S, Roghayeh K. Comparing the Effect of Simulation and Video-based Education on Mothersâ Self-Efficacy in Bathing Preterm Infants. International Journal of Medical Research and Health Sciences. 2019; 5(12):147-153.

Li YY, Au ML, Tong LK, Ng WI, Wang SC. High-fidelity simulation in undergraduate nursing education: A meta-analysis. Nurse Educ Today. 2022 Apr.

Tuna H, Tunç Tuna P, Molu B, Yıldırım KA. Comparison of Simulation and Video Training Given to Nursing Students in Distinguishing Pathological Lung Sounds and Determining Appropriate. Journal of Ankara Health Sciences. 2020; 9 (1), 1-9.

El sayed Eisaa S, Mohamed H, Mahmoud G, El sayed S. The effect of simulation versus video-based training for nursing management of normal vaginal delivery on students’ practical achievement and satisfaction. Minia Scientific Nursing Journal, 2019; 006(1): 167-174.