ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดระหว่างรักษา อําเภอน้ําปาด จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

บังอร ขัตติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เสียชีวิตระหว่างรักษา ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการ เสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดระหว่างการรักษา ในอําเภอน้ําปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยวิธีวิจัยแบบย้อนหลัง (Retrospective) รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยาบาลน้ําปาดทุกราย ระหว่างตุลาคม 2551 - กันยายน 2554 และการสัมภาษณ์ผู้กํากับการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคที่เสียชีวิต ซึ่งคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้กํากับการกินยาแบบเจาะจง (Purposive sampling) วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา เชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มการเสียชีวิตโดยใช้ อัตราเสี่ยงสัมพันธ์ต่อการเกิดโรค


ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตขณะรักษา ส่วนมากเป็นเพศชาย สูงอายุ และมีโรคประจําตัวเดิมร่วมด้วย โรค ประจําตัวที่ร่วมด้วยที่สําคัญ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ติดเชื้อเอชไอวี เป็นผู้ป่วย เสียชีวิตในระยะเข้มข้น 2 เดือน แรก และเป็นผู้ป่วยที่ไม่มีพี่เลี้ยงกํากับการกินยา ในด้านพฤติกรรมของพี่เลี้ยงกํากับการกินยา พบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมระดับ มาก ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตผู้ป่วยโรควัณโรคปอดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ มีประวัติโรคประจําตัวเดิมร่วมด้วย RR2.44 (95% CI 0.77-7.74) เป็นผู้สูงอายุ RR= 3.25 (95% CI 0.73-14.43 ) เป็นผู้ป่วยวัณโรคกลับมารักษาอีกครั้งหลังขาดยา RR3.9 (95%CI 1.11-13.72) ผู้ป่วยวัณโรคที่เสียชีวิตซึ่งมีสาเหตุมาจาก โรคประจําตัวร่วมด้วย และ เป็นผู้สูงอายุนั้น เนื่องจากผู้ป่วย กลุ่มนี้มีภาวะสุขภาพที่ไม่แข็งแรง นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคกลับมารักษาอีกหลังขาดยา มีความเสี่ยงเป็น 4 เท่า เมื่อ เปรียบเทียบกับผู้ป่วยวัณโรคประเภทอื่น ผู้ป่วยที่มีโรคประจําตัวมีความเสี่ยงเป็น 2 เท่า ของผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่มีโรคร่วม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

นัดดา ศรียาภัย. บทบาทและความจําเป็นของการ ตรวจเสมหะดวยกลองจุลทรรศนดานคลินิกและคาน การควบคุมโรค. วารสารวัณโรคโรคทรวงอกและเวช บําบัดวิกฤต; 2542

กระทรวงสาธารณสุข. ศูนย์เอกสารองค์การอนามัย โลก สํานักวิชากร; 2553.

สํานักงานสาธารณสุขอําเภอน้ําปาด สรุปผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการประสานงาน อําเภอน้ําปาด :2554 หน้า 13

นวลอนงค์ ลือกําลังและคณะ,ผลการรักษาและ ปัจจัยที่มีผลต่อการตายในผู้ป่วยวัณโรคปอดพบเชื้อ โรงพยาบาลลําพู น. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548.

ศุภรัตน์ บุญนาคและคณะ, ศึกษาการเสียชีวิตของผู้ ป่วยวัณ โรคระหว่างการรักษาจังหวัด พระนครศรีอยุธยา, สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่1 กรุงเทพฯ; 2548.

ดุษฎี โสภาพ และคณะ สาเหตุการเสียชีวิตของ ผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลไพรบึง อําเภอไพรบึง

จังหวัดศรีสะเกษ. เอกสารประกอบการประชุม วิชาการพัฒนาคุณภาพระบบบริการงานโรคเอดส์ และวัณโรค; 2554

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการ ดําเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2549

ทัศนีย์ ดําชู และมาลี โรจน์พิบูลย์สถิตย์, ผลการ บริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ล้มเหลวจากการ รักษาด้วยระบบยามาตรฐาน ระยะสั้น เอกสาร ประชุมวิชาการและการนําเสนอระดับชาติ; 2555.

นิรมล พิมน้ําเย็น และทวีศักดิ์ ศิริ พรไพบูลย์ ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จในการรักษาวัณโรคดื้อยา หลายขนาน ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศ ไทย. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2553.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ คู่มือการวิจัย การเขียน รายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เจริญผล, 2540

สิน พันธุ์พินิจ, เทคนิคการวิจัยทางวังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งแรก) กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์; 2547

สุภางค์ จันทวนิช. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ ครั้งที่ 8)กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ; 2542

สุริยะ คูหะรัตน์, นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่2) กรุงเทพฯ: องค์การ; 2546.

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์, คู่มือการ ดําเนินงานควบคุมวัณโรคจังหวัดอุตรดิตถ์, กลุ่มงาน ควบคุมโรคจังหวัดอุตรดิตถ์, 2553.